ผู้นำยามศึก vs ผู้นำยามสงบ - Wartime vs Peacetime Leader Leader

หนังสือการบริหารจัดการส่วนใหญ่ ได้เขียนถึงผู้นำที่มีประสิทธิภาพในช่วง Peacetime แต่ในโลกแห่งความจริง บริษัทอาจกำลังต้องการผู้นำที่มีประสิทธิภาพในช่วง Wartime ด้วยเช่นกัน 

.

โดยในช่วง Peacetime นั้น บริษัทสามารถมุ่งเน้นการขยายตลาด กระจายอำนาจ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ แต่ในช่วง Wartime บริษัทต้องต่อสู้กับภัยคุกคามที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างเร่งด่วน ทุกคนจึงต้องทำตามแผนอย่างเคร่งครัด และไม่มีที่ว่างสำหรับความคิดสร้างสรรค์ที่อาจต้องทอดเวลารอคอยจนไม่ทันการ

.

3 คุณลักษณะของผู้นำในยามศึก - Wartime Leader

.

🎯1. สื่อสารชัด

.

สื่อสารชัดว่าเกิดวิกฤติ ในเวลาที่เกิดวิกฤติ ไม่แสร้างว่าสถานการณ์เป็นปกติ ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่รับได้ยาก แต่การสื่อสารชัด จะช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ นอกจากการสื่อโดยตรงจากผู้นำแล้ว การจัดเวทีให้ถาม-ตอบอย่างตรงมาตรงไป ก็ช่วยให้การสื่อสารชัดเจนมากขึ้น ในช่วง War Time "ความเป็นปกติ" หมายถึง การสื่อสารอย่างชัดเจนถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งสื่อสารถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะทำให้องค์กรกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้

.

🎯2. ตัดสินใจได้ว่องไว

.

ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยในปี 1980, 1990 และ 2000 พบว่ามีบริษัทมหาชนจำนวน 9% จากเกือบ 5000 บริษัท สามารถฟื้นตัวจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและเติบโตแซงหน้าคู่แข่งอย่างน้อย 10% ทั้งยอดขายและผลกำไร นั่นเป็นเพราะบริษัทเหล่านั้นตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วในการลดในสิ่งที่เป็นภาระ และคงไว้ในสิ่งที่ยังมีโอกาส 

.

🎯3. ให้ความเข้าใจ เมื่อต้องปลดคนออก

.

"การได้รักแล้วพลัดพรากจากกัน ดีกว่าการไม่ได้รักกันเลย" ในช่วง Peacetime ความสามารถในการคัดสรรคนเข้าองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ แต่ว่าในช่วง Wartime นั้น ความสามารถของ HR ในการปลดคนออกเป็นเรื่องที่จำเป็น หากผู้นำตัดสินใจที่ปลดคนออก จะต้องสื่อสารให้เกิดความแน่ใจว่า พนักงานยังคงสามารถทำงานได้จนครบตามเวลาที่กำหนด เพื่อให้เวลากับพนักงานได้เก็บกวาดโต๊ะทำงาน บอกลา หรือสะสางงานที่ทำอยู่หากเป็นไปได้

.

🌳เราสามารถเป็นทั้ง Peacetime Leader และ Wartime Leader ได้หรือไม่

.

Sundar Pichai, CEO ของ Google กล่าวว่า "Leadership is decision making. Moving things forward." ภาวะผู้นำคือการตัดสินใจ ให้เกิดการเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ไปข้างหน้า โดยเฉพาะกับบริษัทขนาดใหญ่อย่าง Google ที่มีพนักงานมากกว่า 130,000 คน หากมีการประชุมพูดคุยกันแล้วไม่มีใครตัดสินใจ จะส่งผลกระทบต่องานเป็นทอด ๆ ภาวะผู้นำจึงคือการตัดสินใจ 

.

พร้อมกันนี้เขายังให้ความสำคัญกับ ความปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety) เป็นอย่างมาก เพื่อให้ได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกคนในการประชุม เขาจะเดินไปรอบ ๆ โต๊ะประชุมและขอให้ทุกคนได้พูดจุดยืนของตัวเอง สิ่งนี้ช่วยให้ทุกคนรู้สึกว่าได้รับการรับฟังและได้มีส่วนร่วมในผลที่จะเกิดขึ้นด้วย 

.

นี่คือบทสัมภาษณ์ของ Sundar Pichai ในปี 2021 ช่วงเวลาที่โลกประสบกับสถานการณ์ COVID-19 โดยผู้สัมภาษณ์ Justin Bariso ยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า Sundar Pichai มีความฉลาดมาก และพร้อมแบ่งปันประสบการณ์อันล้ำค่า มีบุคลิกที่สนใจใคร่รู้ เป็นผู้ฟังที่ดี อ่อนน้อมถ่อมตน สง่างาม และไม่อวดเก่ง ผิดกับสิ่งที่คาดจากภาพ CEO ที่มีอำนาจอย่างสูง

.

Sundar Pichai คือ ตัวอย่างของผู้นำที่เป็นทั้ง Wartime Leader ที่ให้ความสำคัญกับการตัดสินใจที่รวดเร็ว และ Peacetime Leader ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และการสร้างความปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety) นี่คือเหตุปัจจัยสำคัญของการสร้างทีมที่สุดยอดใน Google

.

ในช่วง Wartime เราต่างเผชิญกับสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร ผู้นำที่มีความเด็ดขาดชัดเจน พร้อมทั้งมีความเข้าอกเข้าใจ รวมถึงการมองเห็นว่าในวิกฤตินั้นมีโอกาสอยู่เสมอ จะช่วยนำพาองค์กรข้ามพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้

ไม่ว่าสถานการณ์จะท้าทายหรือเร่งด่วนเพียงใด วุฒิภาวะทางอารมณ์ หรือความสงบภายใน (Inner Peace) จะช่วยให้การตัดสินใจเฉียบคม และเป็นประโยชน์ที่สุดครับ

.

--- รัน ธีรัญญ์ #runWISDOM  

.

Reference:

Bill Taylor. (2011). Are You a Peacetime CEO or a Wartime CEO ?. HBR.

Bruce Upbin. (2011). Peacetime CEO/Wartime CEO. Forbes.

Falon Fatemi. (2020). Three Characteristics Of Effective Wartime CEOs. Forbes.

Justin Bariso. (2021). The Emotional Intelligence of Google CEO Sundar Pichai. Inc.

Run Wisdom วิทยากร กระบวนกร ที่ปรึกษา
Since:
Update:

Read : 163 times