การรู้ทิศทางของโลกอนาคต ช่วยให้มุมมองของเราเปิดกว้าง ไม่ว่าเราจะเลือกก้าวเดินอย่างไร เราจะเป็นผู้ก้าวเดินสู่อนาคตอย่างผู้เปิดรับความจริง ต่อไปนี้ คือ 9 แนวโน้มระดับโลก (Megatrends) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2030 นี้
ทั่วโลกจะมีประชากร 8.5 พันล้านคน เป็นคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มากกว่าพันล้านคน และจะมีอายุยืนยาวขึ้น โดยส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับกลาง
สองในสามของพวกเรา จะต้องมีชีวิตแบบคนเมือง พร้อมรับกับค่าครองชีพที่สูง จำเป็นต้องเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี และจะมีการขนส่งอาหารมากขึ้น
ยุคแห่งข้อมูล ช่วยให้โปร่งใสขึ้น เราอาจต้องทำใจในการสูญเสียความเป็นส่วนตัวทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร เพื่อส่งเสริมความโปร่งใส และความโปร่งใสจะส่งเสริมให้เราทำดีต่อสังคม องค์กรที่ลด Carbon Footprint ไม่ใช้วัตถุดิบที่เป็นพิษ รวมถึงดูแลบุคลากรได้ดี จะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อข้อมูลมีความโปร่งใส ทุกอย่างปรากฏ ความดีงามย่อมปรากฏเช่นกัน
เป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ จากข้อตกลงร่วมกันในปี 2015 เราตั้งใจจะควบคุมอุณหภูมิในปี 2030 ไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศา แต่ถึงตอนนี้ (2024) อุณหภูมิเพิ่ม 1.48 องศาแล้ว เรียกว่า ภาวะโรคเดือด (Global Boiling) ซึ่งจะส่งผลต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ระบบนิเวศน์ไม่สมดุล สัตว์สูญพันธุ์ และอื่น ๆ
ทรัพยากรขาดแคลน จำเป็นต้องประหยัดใช้ โอบรับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) บริหารทรัพยากรให้กลับมาใช้ซ้ำได้ ผลิตภัณฑ์จากเหล็ก จากพลาสติกต่าง ๆ จะถูกกดดันต่อกันเป็นทอด ๆ จนทำให้ผู้ผลิตต้องยอมปรับกระบวนการผลิตใหม่ และลงทุนกับกระบวนการใช้ซ้ำ โดยน้ำจะกลายเป็นทรัพยากรที่ขาดแคลนหนัก จะต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อแยกเกลือออกจากน้ำทะเล
ต้นทุนของเทคโนโลยีสะอาด (clean tech) ลดลงอย่างต่อเนื่อง พลังงานหมุนเวียน (renewable energy) จึงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ต้นทุนแบตเตอรี่จะลดลงอย่างมาก และมีกฎหมายที่เข้มงวดในการห้ามเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้ยอดขายรถยนต์ใหม่เกือบทั้งหมดจะคือ รถไฟฟ้า (EV)
อุปกรณ์ต่าง ๆ จะออนไลน์เชื่อมโยงกัน ปัญญาประดิษฐ์ (Ai) จะฉลาดมาก ช่วยวางแผนชีวิต และทำให้มนุษย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในด้านการจราจร Ai จะช่วยมากกว่าแค่เลือกเส้นทางจราจร แต่จะทำให้การจราจรโดยรวมลงตัว ทำงานแทนคนตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ ไปจนถึงระดับผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักกฏหมาย และวิศวกร
การร่วมมือระดับโลกจากภาคการเมืองไม่สู้ดี เมื่อสหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงร่วมกัน เกิดเป็นสงครามทางการค้าและภาษี ความหวังจึงคือการขับเคลื่อนความยั่งยืนจากภาคธุรกิจ
เกิดการเพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยมและลัทธิหัวรุนแรง อาจทำให้การร่วมมือระหว่างประเทศติดขัด แต่ข้อนี้ยังไม่แน่ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมา นโยบายประชานิยมหรือการมุ่งเน้นในการรวมอำนาจ จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล และฮังการี แต่ประเทศอย่างตุรกี แอลจีเรีย และซูดาน ก็ได้หันหลังให้กับระบอบเผด็จการ
1. องค์กรเข้าสู่กรอบของธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มราคาคาร์บอน เพื่อส่งเสริมให้ทุกองค์กรลดการปล่อยคาร์บอน (carbon footprint)
2. องค์กรต่าง ๆ ต้องคำนึงถึงมนุษย์มากขึ้น ทั้งที่เป็นบุคลากรในบริษัท ในห่วงโซ่คุณค่า และในชุมชน
3. องค์กรต้องปรับตัวสู่ความโปร่งใส เพราะคนยุคใหม่จะเรียกร้องให้องค์กรที่เขาทำงานด้วยมีความโปร่งใส
4. องค์กรต้องฟังคนรุ่นใหม่ให้มาก สิ่งที่เขาให้ความสำคัญและให้คุณค่าคืออะไร เพราะในปี 2030 คน Gen Y จะอายุเกือบ 50 ส่วนคน Gen Z จะเป็นแรงงานโดยส่วนใหญ่
การเลือกเดินของเรา มีความสำคัญอย่างมาก ทั้งในฐานะบุคคล หรือฐานะองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรภาคธุรกิจจะมีบทบาทสำคัญ ต่อการดำเนินไปของโลก พนักงาน ลูกค้า และแม้แต่นักลงทุน ต่างเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจ เติบโตในบทบาทที่ส่งผลเชิงบวกต่อโลกมากขึ้น
อ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อน ๆ คิดว่า Megatrends ข้อไหนเกี่ยวข้องกับตัวเองมากที่สุด เกี่ยวข้องอย่างไร และส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไร แล้วความรู้สึกนั้น กำลังบอกให้เราทำอะไรบ้างครับ
--- รัน ธีรัญญ์
Andrew S. Winston. (May 07, 2019). The World in 2030: Nine Megatrends to Watch. MIT Sloan Management Review.