วันนี้เรียนหัวข้อ Strengths Jan 29, 2024
บทความนี้ คือ บันทึกการเรียนรู้จาก Oxford, UK
เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตร Oxford Positive Psychology
คุณค่า (Value) เปรียบเสมือนพวงมาลัยของเรือ ที่ทำงานเชื่อมโยงลึกลงไปสู่หางเสือเรือใต้น้ำ เมื่อเราทำงานตรงคุณค่า จะเกิดความรู้สึกเติมเต็มที่ก้นบึ้งของหัวใจ และสัมผัสถึงความสุขในทุกขณะที่ทำ เช่น คุณค่าในปัจจุบันของผม คือ เป็นอิสระ-สร้างสรรค์ (Freedom - Creativity), ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ (Connectedness), จิตวิญญาณ (Spirituality) และ การทำประโยชน์เพื่อสังคม (Contribution)
ในขณะที่จุดแข็ง (Strengths) เปรียบเสมือนใบเรือ เมื่อเราทำงานด้วยจุดแข็ง จะเหมือนใบเรือได้กางออกรับลม เรือจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น เราจะรู้สึกมีพลังในการทำงาน ทำได้ดี เรียนรู้ได้เร็ว เมื่อสิ่งนั้น คือ จุดแข็งของเรา เพียงแต่มีผู้คนที่ตระหนักรู้ในจุดแข็งของตัวเองเพียง 34% และมีผู้คนที่ใช้จุดแข็งของตัวเองในแต่ละวันเพียง 17% เท่านั้น
สำหรับเครื่องมือค้นหาจุดแข็งบนฐานของงานวิจัย ได้แก่
จุดแข็งผ่าน Gallup Model ที่ผมเคยทำไว้ล่าสุด ประกอบไปด้วย การเชื่อมโยง (Connectedness) การบรรลุเป้าหมายและความเป็นเลิศ (Achiever and Maximizer) การมองเห็นอนาคตและการสร้างสรรค์ (Futuristic and Ideation)
สำหรับจุดแข็งผ่าน VIA Model Strengths ผมเคยทำไว้หลายครั้ง แต่ลืมไปแล้ว วันนี้ จึงถือโอกาสทำใหม่ เพื่ออัพเดทจุดแข็งล่าสุดของตัวเอง โดย Top Strengths ของผม ที่ได้จากการทำแบบประเมิน คือ
1. Appreciation of Beauty & Excellence
Noticing and appreciating beauty, excellence, and/or skilled performance in various domains of life, from nature to art to mathematics to science to everyday experience.
2. Forgiveness
Forgiving those who have done wrong; accepting others’ shortcomings; giving people a second chance; not being vengeful.
3. Spirituality
Having coherent beliefs about the higher purpose and meaning of the universe; knowing where one fits within the larger scheme; having beliefs about the meaning of life that shape conduct and provide comfort.
4. Creativity
Thinking of novel and productive ways to conceptualize and do things; includes artistic achievement but is not limited to it.
5. Gratitude
Being aware of and thankful for the good things that happen; taking time to express thanks.
6. Hope
Expecting the best in the future and working to achieve it; believing that a good future is something that can be brought about.
ให้เราคิดถึงส่วนงานที่ไม่ถนัด ยากลำบาก ติดขัด จากนั้นให้ลองคิด วางแผนงานใน 1 ปี และสัมผัสความรู้สึก หลังจากนั้น ให้ใคร่ครวญเช่นเดียวกันกับส่วนงานที่มีความสุข และทำได้ดี นอกจากนี้ เราอาจลองใช้มือข้างที่ถนัด เขียนชื่อตัวเอง 3 ครั้ง และใช้มืออีกข้างทำเช่นเดียวกัน แล้วลองทบทวนความรู้สึกระหว่างที่ทำ กิจกรรมเหล่านี้ จะช่วยให้เราพบว่า การโฟกัสจุดแข็งช่วยให้เราสามารถคิดวางแผนงานได้ดีกว่า และนำไปสู่อารมณ์เชิงบวกได้ในระหว่างที่ทำ
ผมได้ตอบคำถามที่ชวนให้สามารถค้นพบจุดแข็ง ทั้งหมดรวม 30 คำถาม คำตอบของผมเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตที่ช่วยให้ชีวิตมีพลัง ทำงานได้อย่าง Flow เช่น เมื่อได้อยู่ใกล้ธรรมชาติ ได้มองเห็นท้องฟ้า ได้ยินเสียงนกร้อง การนั่งสมาธิ การเดินทางไปอยู่ต่างประเทศคนเดียว การได้เชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกันอย่างลงตัว การเขียนโปรแกรม
ข้อสังเกตเวลาที่เราดำรงอยู่กับจุดแข็งของเรา สามารถสังเกตได้ผ่านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม กล่าวคือ เวลาที่เราพูดถึงจุดแข็ง อาจจะมีความคิดหรือคำพูด เช่น มันสนุกมากเลย ฉันสามารถทำสิ่งนี้ได้ตลอดไป นี่คือสิ่งที่เรียกหาฉัน และจะเกิดความรู้สึกเช่น ตื่นเต้น มีส่วนร่วม ผูกพัก หลงใหล มีแรงจูงใจ จริงแท้ และมั่นใจ รวมถึงจะเกิดพฤติกรรม คือ เรียนรู้ได้เร็ว ทำได้ต่อเนื่อง ให้ความสำคัญ และทำมันได้ดี เราอาจชวนกันสะท้อนถึงสิ่งเหล่านี้ในระหว่างวัน หรือเมื่อเสร็จสิ้นการทำงานในแต่ละวัน
หลังจากที่ได้ตอบคำถามทั้งหมด ผมและเพื่อน ๆ ช่วยกันสรุปจุดแข็งให้ผม พบว่า ผมมีจุดแข็งในด้านการชื่นชมความงดงามของธรรมชาติรอบตัว ความเชื่อมโยง การมีส่วนร่วม การเติบโตด้านใน และความสร้างสรรค์ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ จุดแข็งทั้งหมดของผมยังเป็นคำคำเดียวกับคุณค่าในชีวิตที่มีอีกด้วย
โดยรวมแล้วการค้นหาจุดแข็งผ่านแบบประเมิน VIA และผ่านการสัมภาษณ์ 30 คำถาม ผมได้จุดแข็งที่ตรงกัน คือ การชื่นชมความงดงามและความยอดเยี่ยม (Appreciation of Beauty & Excellence) จิตวิญญาณ (Spirituality) ความสร้างสรรค์ (Creativity) และ ความรู้สึกของคุณ (Gratitude) ส่วนจุดแข็งที่ค้นพบเพิ่มเติมผ่านการทำแบบทประเมิน VIA คือ การให้อภัย (Forgiveness and Mercy) ซึ่งเป็นจุดแข็งที่อยู่ในอันดับ 2 ผมคิดว่าหมายถึง การปล่อยวาง (Let Go)
ชวนให้เราคิดถึงบุคคลต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจของเรา จากนั้นค้นหาว่าเขามีจุดแข็งอะไร เขาพัฒนามันอย่างไร และจุดแข็งไหนที่เกี่ยวกับเรา และเราจะสามารถออกแบบแผนการพัฒนาจุดแข็งนั้นให้กับตัวเราเองได้อย่างไร
สำหรับบุคคลต้นแบบของผม ได้แก่
จุดแข็งที่ผมโฟกัสจากบุคคลต้นแบบ คือ มีสติ สบาย ๆ อิสระ อบอุ่น
พอได้ 3 จุดแข็งจากกิจกรรมนี้ คือ มีสติ สบาย ๆ อิสระ อบอุ่น ผมรู้สึกสัมผัสถึงความจริงแท้ (Authentic) ในตัวเอง ดังนั้น สำหรับแผนการพัฒนาจุดแข็งเหล่านี้ จึงคือ การตระหนักรู้ถึงจุดแข็งเหล่านี้ และขอบคุณปัจจุบันที่ใช้จุดแข็งเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ต้องสังเกตปรับใช้อย่างพอเหมาะพอดี ในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยไม่ลืมว่าเราสามารถนำจุดแข็งคนอื่นมาเรียนรู้ได้ แต่ต้องระวังความคาดหวังให้คนอื่นมีจุดแข็ง หรือคุณค่าแบบเดียวกับเรา
สรุปจุดแข็ง (Strengths) จากการสืบค้นผ่านวิธีการต่าง ๆ
คำถามที่สามารถนำไปใช้สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันต่อไป คือ จุดแข็งของเราแต่ละข้อ มีประโยชน์กับเราอย่างไร มีประโยชน์กับผู้อื่นอย่างไร สอดคล้องกับคุณค่าหรือไม่ เกื้อกูล Basic Needs อย่างไร เช่น Basic Needs ทางใจ ได้แก่ autonomy, competence, relatedness เพิ่มสุขภาวะหรือไม่ ทำให้เป้าหมายก้าวหน้าได้อย่างไร
เขียนจุดแข็ง 3 อันดับแรก คิดถึงคนที่เรารักหรือคนที่เราอยากใช้เวลาด้วย แล้วพิจารณาว่าจะสามารถใช้ Strengths ข้อไหนของเราเกื้อกูลคนที่เรารัก นำจุดแข็งไปใช้จริง จากนั้นกลับมาใคร่ครวญสะท้อนการเรียนรู้ โดยผมเลือกจุดแข็ง 3 ข้อของตัวเอง คือ การชื่นชม การให้อภัย และความรู้สึกขอบคุณ โดยบุคคลที่ผมเลือก คือ ภรรยาของผมเอง โดยจะชื่นชมคุณค่าของเขาในด้านการเรียนรู้ และให้อภัย (ปล่อยวางให้เร็ว) ในคุณค่าบางข้อที่มีระดับความใส่ใจต่างกัน เช่น ผมจะดื่มด่ำไปจนถึงอาจดำดิ่งกับความงดงามของธรรมชาติหรืองานตรงหน้าสูงมาก ในขณะที่ภรรยาผมจะใส่ใจความรู้สึกของผู้คนมากกว่า ทำให้บางครั้งวิธีคิด-วิธีทำต่างกัน รวมถึงขอบคุณเขาที่เกื้อกูลคุณค่าด้านจิตวิญญาณที่มีตรงกัน
จุดแข็งไม่ไช่สิ่งที่ทำเยอะแล้วจะดีเสมอไป อุปมาเสมือนกับการขับเคลื่อนเรือใบ ถ้าลมแรง เราก็ไม่จำเป็นต้องกางใบเรือมากเกินไป แต่จะต้องทำอย่างพอเหมาะพอดี โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ด้วย เช่น ถ้าเราเป็นคนซื่อตรง ก็ไม่ได้แปลว่าต้องพูดทุกอย่างที่คิด แล้วบั่นทอนความมั่นใจของผู้อื่น ถ้าเราเป็นคนตลก ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องสร้างเสียงหัวเราะตลอด แม้ในเวลาที่คนกำลังเศร้าใจเราเรียกการใช้จุดแข็งที่เหมาะสมว่า "Contextual Strength Perspective) และเรียกการใช้จุดแข็งที่ไม่เหมาะสมว่า "Isolated Strength Perspective"
ในหลักสูตร Positive Psychology ที่ผมมาเรียนที่ Oxford, UK มีตารางแสดงรายการจุดแข็งเวลาใช้มากไป (Overuse) และเวลาใช้น้อยไป (Underuse) ให้เราได้เห็นด้วยว่าจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางให้เราสามารถทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ต่อไป โดยนำจุดแข็งของเรามาพิจารณา ใคร่ครวญผ่านประสบการที่เคยใช้น้อยไป หรือมากไป จากนั้นออกแบบแผนการที่จะทำให้เราสามารถใช้จุดแข็งได้อย่างพอเหมาะพอดี (Optimal, not too little, not too much.)
คือ แผนผังวงกลมจุดแข็ง แต่ละวงกลม คือ แต่ละบริบท เช่น เรื่องงาน หรือ เรื่องความสัมพันธ์ ในแต่ละวงกลมแบ่งเป็น 5 Segments แทนจุดแข็ง 5 ข้อ ในแต่ละ Segments ก็มี Scale ตั้งแต่ 1-10 ให้เราพิจารณาไปทีละจุดแข็งว่า ในบริบทนั้นเรามีจุดแข็งข้อนี้ 1-10 ที่เท่าไหร่ แล้วอยากจะเพิ่มหรือลดเป็นเท่าไหร่ จากนั้นออกแบบกิจกรรมที่จะเกื้อกูลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไปสู่ความพอเหมาะพอดี (Optimal)
--- รัน ธีรัญญ์
ส่วนหนึ่งในหลักสูตร Oxford Positive Psychology
อำนวยการสอน โดย Dr.W Md Rayman
และผู้เชี่ยวชาญจาก University of Oxford