วันนี้เรียนหัวข้อ Positive Relationships
Feb 1, 2024
บทความนี้ คือ บันทึกการเรียนรู้จาก Oxford, UK
เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตร Oxford Positive Psychology
ความสัมพันธ์ที่ดี คือ ช่วยเติมเต็มคุณค่า ให้การสนับสนุนตรงความต้องการ เกื้อกูลพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ และเกื้อกูลการบรรลุเป้าหมาย
ชวนให้เราตอบคำถาม เกี่ยวกับบุคคลที่สนับสนุนเราใน 4 ด้าน ได้แก่ Emotional Support, Informational Support, Instrumental Support and Companionship Support แต่ละด้านตอบได้หลายชื่อ จากนั้นให้เลือกเป้าหมาย 1 เรื่อง แล้วให้ระบุชื่อบุคคลที่สนับสนุนเราในเป้าหมายนั้น ทั้ง 4 ด้าน กิจกรรมนี้ ช่วยให้ผมเห็นถึงความสำคัญของบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และเห็นว่าเราสามารถช่วยเหลือกันได้ 4 ด้าน ถ้าช่วยได้ตรงด้านที่เขาต้องการ ก็จะทำให้ความช่วยเหลือนั้นเกิดประโยชน์มาก
จากงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า ต้นทุนทางสังคม (Social Capital) เกื้อกูลให้มีสุขภาวะดีขึ้น ทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ รวมถึงมีโอกาสจะอายุยืนยาวกว่าด้วย โดยประกอบไปด้วยเหตุปัจจัย 4 อย่าง ได้แก่
หลังจากทำความเข้าใจเหตุปัจจัยทั้ง 4 ด้านแล้ว ให้เราเขียนชื่อเพื่อนให้เยอะที่สุด ได้แก่ เพื่อนสนิท เพื่อนรัก เพื่อนร่วมงาน สมาชิกในครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนเล่นกีฬา เพื่อนในงานอดิเรก เพื่อนในสายอาชีพ เป็นต้น จากนั้นให้วิคราะห์ทั้ง 4 เหตุปัจจัย เพื่อยกระดับ Social Capital ได้แก่
หลังจากทำกิจกรรมนี้ ผมพบว่าผมมีเพื่อนมากกว่าที่คิดไว้ก่อนที่จะเริ่มทำกิจกรรม ทำให้เห็นความสำคัญของการทำงานอาสาสมัคร การเข้าร่วมชุมชน สมาคมที่ขับเคลื่อนงานที่เกี่ยวกับคุณค่าชีวิต โดยกลุ่มที่ผมใช้เวลาอยู่ด้วยมาก ได้แก่ สังฆะหมู่บ้านพลัม, กลุ่ม Virtual Dialogue, กลุ่ม Inner Development Goals (IDG Hub), กลุ่ม We Oneness, กลุ่ม Peace Studies ที่เชื่อมโยงคุณค่าด้าน Connectedness และ Communication ส่วนกลุ่มอืน ๆ ที่สนใจเชื่อมโยง แต่ช่วงนี้ยังให้เวลาน้อยไป คือ ชุมชนจิตตปัญญา, กลุ่มเพลินธรรมนำชม สวนโมกข์ กรุงเทพฯ, กลุ่ม International Association of Facilitator (IAF Chapter) และกลุ่มพี่น้องในครอบครัว ฯลฯ ที่จำเป็นต้องเพิ่มคุณภาพในการสื่อสาร เช่น การใช้ Voice Message แทน Text รวมถึงทำให้การนัดหมายพบเจอกันง่ายขึ้น โดยลดความคาดหวังในการให้และการรับเมื่อพบเจอกัน
The Most Important People ให้เขียนชื่อบุคคลสำคัญของเรา 4 คน ที่เรารู้สึกใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง จากนั้นให้ประเมินด้านคุณภาพของเวลาที่เราใช้ในการดำรงอยู่กับเขา ในปัจจุบัน ผมคิดถึงภรรยาของผม คุณพ่อของผม รวมถึงพี่สาวและพี่ชายของผม การให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ในก้นบึ้งของจิตใจ ขับเคลื่อนให้ผมทำงานเร็ว และลดความหมายในการใช้เวลากับกิจกรรมบางอย่างไป แต่สุดท้ายก็ไม่ได้นำเวลาที่รู้สึกว่ามีค่าอย่างมากนั้น ไปใช้กับความสัมพันธ์เท่าที่ควร สิ่งที่ผมตั้งใจจะทำก็คือการลดความคาดหวังของตนเองในการเป็นผู้ให้และเป็นผู้รับ เพื่อให้การนัดหมายพบเจอเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น รวมถึงออกแบบ Life Domains ใหม่ เพื่อทบทวนสมดุลของชีวิต
คือ การรับรู้ (Perception) ถึงความใกล้ชิดกับผู้อื่น การเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว เพื่อน และกลุ่มสังคม สิ่งที่เกื้อกูลการรับรู้เช่นนี้ อาจไม่ใช่ปริมาณเพื่อน แต่คือความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (Sense of belonging) ความหมายส่วนบุคคล ความพอใจในชีวิต และสถานะของสุขภาพที่ได้รับการปรับปรุง
เราสามารถตรวจสอบการรับรู้นี้ ผ่าน Social Connected Scale จำนวน 8 ข้อ เมื่ออ่านคำถามในแต่ละข้อ ให้เราสะท้นตนเอง และให้คะแนน 1-6 คะแนนในแต่ละข้อ จากการทำกิจกรรมนี้ ผมได้ 1.625/6 คะแนน นั่นหมายถึงรับรู้ถึงการเชื่อมโยงในความสัมพันธ์สูง
การรับรู้ว่ามีคนคอยช่วยเหลือเรา จะทำให้เราจดจำประสบการณ์ด้วยความรู้สึกขอบคุณ มีสุขภาวะที่ดี ทั้งกายและใจ แต่ถ้าเราคิดว่าเราได้รับการสนับสนุนจากสังคมน้อย ซึ่งอาจจะน้อยกว่าความเป็นจริงก็ได้ ให้เราลองทำกิจกรรมเพื่อปรับมุมมองด้วยการสังเกตในระหว่างวัน เขียนชื่อบุคคลที่ช่วยเหลือเรา ในด้านไหนก็ได้ และบันทึกไว้ด้วยว่าเขาช่วยเหลืออะไรเรา หลังจากทำแล้วให้สะท้อนตัวเองดูอีกครั้งว่าเราคิดอย่างไรกับ Social Support ของตัวเอง
ความน่าจะเป็นในการยืดหยัดในความสัมพันธ์ หรือระดับพันธสัญญา (Commitment Level) เกิดจากเหตุปัจจัย 3 อย่าง ได้แก่
นอกจากนี้ ผมคิดว่าความสัมพันธ์แบบสามีภรรยา น่าจะเกี่ยวกับแรงจูงใจด้านศีลธรรมด้วย ที่ต้องการรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคง โดยไม่เปรียบเทียบกับตัวเลือกใหม่ และไม่ปล่อยให้แรงจูงใจจากภายนอกมาเป็นบ่วงเหนี่ยวรั้ง เช่น ลูกหรือทรัพย์สิน ซึ่งแรงจูงใจด้านศีลธรรมเช่นนี้ ถ้าเข้าข่ายความหมายของความพอใจ เติมเต็มคุณค่าให้กันด้วย ย่อมดีกว่า การอดทนจากความกดทับในความสัมพันธ์ เพราะต้องการเพียงรักษาขนบธรรมเนียบที่สังคมอยากให้เป็น
กิจกรรม Mindless vs Mindful Listening จับคู่ให้คนหนึ่งเป็น A และอีกคนเป็น B รอบที่ 1 ส่งข้อความให้ A เล่าถึงหนังหรือเพลงที่ชอบ และส่งข้อความให้ B สวมบทบาทเป็นผู้ฟังแบบไม่ตั้งใจฟัง จากนั้นรอบ 2 ส่งข้อความให้ A สวมบทบาทเป็นผู้ฟังแบบที่ตั้งใจฟังอย่างมีสติ และส่งข้อความให้ B เล่าถึงประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ชื่นชอบที่สุด
เมื่อจบกิจกรรมแล้วจึงให้สะท้อนถึงบทบาทในแต่ละรอบ จากนั้นตั้งคำถามให้เชื่อมกับประสบการณ์ที่เคยฟังอย่างตั้งใจ และที่เคยฟังแบบไม่ตั้งใจ เกิดขึ้นตอนไหน อย่างไร กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการยอมรับในตนเอง (Self-acceptance)
ตั้งแกน 2 แกน แกนหนึ่งคือ Active และ Passive ส่วนอีกแกนคือ Constructive และ Destructive เพื่อพัฒนา Social Skill เราควรฝึกการตอบสนองแบบ Active-constructive Response คือ ตอบสนองด้วยมุมมองเชิงบวกและอารมณ์เชิงบวก อย่างกระตือรือร้น
นอกจากนี้ ความเมตตา ความรู้สึกขอบคุณ ความเปราะบางได้ การขอโทษ การให้อภัย และการเข้าใจความรู้สึก มีส่วนช่วยให้เกิดความสัมพันธ์เชิงบวกในชีวิตมากขึ้น
--- รัน ธีรัญญ์
ส่วนหนึ่งในหลักสูตร Oxford Positive Psychology
อำนวยการสอน โดย Dr.W Md Rayman
และผู้เชี่ยวชาญจาก University of Oxford
สถานที่: Linacre College, University of Oxford.