บันทึกจาก Oxford: อรัมภบท จิตวิทยาเชิงบวก

บทความนี้ คือ บันทึกการเรียนรู้จาก Oxford, UK ในหลักสูตร Positive Psychology เนื้อหาตั้งอยู่บนพื้นฐานของงานวิจัย ประกอบด้วยวรรคตอนสำคัญที่น่าสนใจ จากนักวิจัยพร้อมด้วยแหล่งอ้างอิง

นอกจากนี้ ยังมีส่วนของ Positive Sign ในทุกหัวข้อย่อยของเนื้อหา เพื่อให้เราสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกกับตัวเอง และสามารถนำไปออกแบบการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรได้

รวมถึงส่วน Practical note ที่สอดแทรกอยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อที่จะถ่ายทอดประสบการณ์จำเป็นสำหรับการนำจิตวิทยาเชิงบวก ไปใช้ในการดูแลจิตใจผู้อื่นซึ่งมีความละเอียดอ่อน

และที่สำคัญ คือ มี Workshop ที่ชวนให้เกิดการใคร่ครวญด้านในอย่างลึกซึ้ง เป็นหลักสูตรหนึ่งในชีวิตที่ได้สำรวจโลกด้านในตนเองอย่างเข้มข้น ชวนให้เกิดการตระหนักรู้ เปลี่ยนมุมมอง ค้นพบพลังจากด้านใน และเกิดแนวทางในการลงมือทำแบบใหม่ และเมื่อเรารู้คุณค่า-ความหมายที่แท้จริงของชีวิต จะเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกครั้งสำคัญ

ต่อไปนี้เป็นการสรุปเนื้อหาเพียงบางส่วนนะครับ

ในช่วงปี 1967-2000 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) การศึกษาด้านจิตวิทยามุ่งเน้นไปที่จุดอ่อน กล่าวคือมี abstract เกี่ยวกับความโกรธ (anger) 5,584 เรื่อง, ความกังวล (anxiety) 41,416 เรื่อง และความซึมเศร้า (depression) 54,040 เรื่อง ในขณะที่มี abstract เกี่ยวกับความเบิกบาน (joy) 415 เรื่อง, ความสุข (happiness) 1,710 เรื่อง และ ความพอใจในชีวิต (life satisfaction) 2,582 เรื่อง คิดเป็นสัดส่วนระหว่างด้านลบต่อด้านบวก 21:1 นี่จึงคือที่มาของจิตวิทยาเชิงบวก

Martin Seligman ให้ความหมาย "จิตวิทยาเชิงบวก" เอาไว้ว่า

“Positive Psychology is the scientific study of optimal human functioning that aims to discover and promote the factors that allow individuals and communities to thrive.”

โดยจิตวิทยาเชิงบวกนั้น แบ่งเป็น 2 คลื่น

PP 1.0 Subjective well-being

ศึกษา Life satisfaction, Positive Affect and Negative Affect มุ่งสนใจด้านบวกของชีวิตแต่เพียงเท่านั้น จนอาจทำให้จิตวิทยาเชิงบวก แบบ PP 1.0 หลุดออกพื้นฐานทางจิตวิทยาไป

PP 2.0 Psychological Well-being

ศึกษา Self-acceptace, Environmental Mastery, Purpose in Life, Positive Relations, Personal Growths and Autonomy

ใส่ใจชีวิตที่มีความหมาย มองว่าด้านลบสร้างให้เกิดผลเชิงบวกได้ และมองว่าด้านบวกก็อาจสร้างให้เกิดผลเชิงลบได้เช่นกัน ทำให้จิตวิทยาเชิงบวก แบบ PP 2.0 กลับมาตั้งอยู่พื้นฐานทางจิตวิทยาอีกครั้ง

การยอมรับในจุดอ่อน ด้วย Self-compassion คือ เป็นเพื่อนที่ดีกับตัวเอง แทนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ตอกย้ำจุดอ่อนในตนเอง แล้วพัฒนาจุดอ่อนเฉพาะเมื่อเห็นว่ามีความจำเป็น เพื่อเติมเต็มคุณค่าแทนที่การพัฒนาเพื่อพอกพูนตัวตน นี่คือ จิตวิทยาเชิงบวก แบบ PP 2.0

สอดคล้องกับถ้อยคำที่กล่าวว่า “I saw this big piece of marble, saw David, and the only thing I needed to do was to remove the pieces that were unnecessary” ซึ่งกล่าวโดย Michelangelo สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการตระหนักถึงความจริงแท้และพลังในบุคคล และใส่ใจในพฤติกรรมที่ส่งเสริมความจริงแท้และพลังในบุคคลนั้น

โดยเนื้อหา Positive Psychology ที่ผมมาเรียนที่ Oxford, UK ประกอบไปด้วยเนื้อหาในหลายหัวข้อที่เชื่อมโยงกันได้อย่างลงตัว (กดที่ลิ้งค์เพื่ออ่านเพิ่ม)

  1. Introduction to Positive Psychology
  2. Balancing Life Domains
  3. Emotional Intelligence
  4. Meaning and Valued Living
  5. The Science of Self-Acceptance
  6. Optimizing Strengths
  7. Development Resilience
  8. Positive Relationships
  9. Motivation and Goal Achievements

--- รัน ธีรัญญ์

ส่วนหนึ่งในหลักสูตร Oxford Positive Psychology
อำนวยการสอน โดย Dr.W Md Rayman
และผู้เชี่ยวชาญจาก University of Oxford

Run Wisdom วิทยากร กระบวนกร ที่ปรึกษา โค้ชผู้บริหาร
เขียน 25 ม.ค. 2567 14:52
ปรับแก้ 07 เม.ย. 2567 17:24