ผมได้มีโอกาสเข้าร่วม Workshop ชื่อ IDG Deep Drive: Bridging Polarities ที่จัดโดย Inner Development Goals และได้เรียนรู้เรื่อง Polarity Thinking จากคุณ Barry Johnson ผู้คิดค้น และคุณ Cliff Kayser ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเรียนรู้ของ Polarity Partnerships เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงขอนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มา สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ผ่านบทความนี้ครับ
การคิดแบบ 2 ขั้ว (Polarity Thinking) เกิดจากโลกของการเปลี่ยนแปลงส่วนบุคคลและการขับเคลื่อนองค์กร มักเผชิญสถานการณ์ที่ไม่ได้มีแค่ “ทางเลือกที่ถูก” กับ “ทางเลือกที่ผิด” แต่กลับเป็นสถานการณ์ที่มี “สองสิ่งดี ๆ” ที่เราต้องบริหารให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง สองสิ่งดี ๆ เช่นนี้ ถูกเรียกว่า Polarity หรือ ความเป็น 2 ขั้ว อย่างไรก็ตาม การเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง (Either/or) ยังอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการตัดสินใจ แต่ในยุคที่มีความสลับซับซ้อน บางครั้ง เราจำเป็นต้องขยายมุมมองใหม่ เพื่อตัดสินใจเลือกทั้งสองอย่าง (Both/and) การขยายมุมมองเช่นนี้ เรียกว่า การคิดแบบ 2 ขั้ว (Polarity Thinking)
ขั้วทั้งสอง คือ ค่านิยม มุมมอง หรือพลังที่มีผลเกี่ยวข้องกัน และต่างก็มีคุณค่าในตัวเอง โดยเราจะเชื่อมขั้วทั้งสองด้วยคำว่า "และ" แทนที่คำว่า "หรือ/vs."
หากเราพยายาม “เลือกด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น” เราอาจได้ประโยชน์ในระยะสั้น แต่จะเกิดผลเสียจากการละเลยอีกขั้วในระยะยาว
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น นี่คือตัวอย่างของ “สองขั้วที่ดี” ที่พบได้บ่อยในชีวิตและการทำงาน
ขั้นตอนแรก คือ การเห็นว่ามีสองขั้วที่ดี (See the Polarity) ก่อนที่เราจะบริหารจัดการ Polarity ได้ เราต้องเห็นก่อนว่าเรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่มี "สองขั้วที่ดี" หรือไม่ และนี่คือชุดคำถามที่ช่วยให้เราระบุขั้วทั้งสองได้ชัดเจนขึ้น
ตัวอย่างชุดคำถามเพื่อค้นหา 2 ขั้ว
เพื่อให้เราเปลี่ยนจากการมองปัญหาแบบ "เลือกข้าง" มาเป็น "การบริหารความเป็นสองขั้ว" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถใช้กระบวนการ S.M.A.L.L. Step คือแนวทางง่าย ๆ ที่ช่วยให้เราค่อย ๆ ขยับในทิศทางให้เกิดประโยชน์จากทั้ง 2 ขั้วได้อย่างยั่งยืน
S – See the Polarity
มองให้เห็นขั้วทั้งสอง ว่าเรากำลังอยู่ในความตึงเครียดระหว่างสิ่งที่มีคุณค่าสองอย่าง ทั้ง 2 อย่างมีความเชื่อมโยงส่งผลต่อกัน เช่น “การเปลี่ยนแปลง” และ “ความมั่นคง”
M – Map the Polarity
วาดภาพความสัมพันธ์ของแต่ละขั้ว โดยใช้ Polarity Map เพื่อให้เข้าใจทั้งข้อดี ข้อเสีย และสัญญาณเตือนของแต่ละด้าน เช่น ถ้าเน้น “การเปลี่ยนแปลง” สร้างนวัตกรรม แต่ถ้าเน้นมากเกินไปอาจทำให้เกิดความไม่แน่นอน
A – Assess Your Current Reality
ประเมินว่าเรากำลังอยู่ตรงไหนในวงจร ตอนนี้เรากำลัง “เอนไปทางใดมากเกินไป” จนอีกด้านเริ่มส่งสัญญาณเชิงลบหรือยัง
L – Learn from the Wisdom of Each Pole
ฟังเสียงของทั้งสองด้าน หลังจากประเมินสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ให้เราสะท้อนว่า เราได้เรียนรู้อะไร ขั้วแต่ละข้างพยายามบอกอะไรกับเรา และมีอะไรที่เราอาจมองข้ามไป
L – Leverage the Energy of Both
ออกแบบการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ ที่ใช้พลังจากทั้งสองด้านร่วมกัน เพื่อให้ระบบทั้งหมด เคลื่อนตัวได้อย่างมีประโยชน์และยั่งยืน ไปสู่ความหมายใหม่ หรือเรียกว่า GPS (The Greater Purpose Statement)
กล่าวโดยสรุป SMALL Step คือ การขยับเล็ก ๆ แต่ต่อเนื่อง ที่ทำให้เราไม่หลงไปสุดขั้วด้านใดด้านหนึ่ง และไม่มองอีกขั้วเป็นศัตรู
ขั้นตอนที่ท้าทาย คือ การเปิดใจเห็นถึงข้อดีจากทั้ง 2 ขั้ว และเห็นว่า ทั้งคู่เป็นสองขั้วที่ดี (See the polarity)
การคิดแบบ 2 ขั้ว (Polarity Thinking) ไม่ใช่การแก้ปัญหาด้วยการ “เลือก” แต่คือการบริหารความตึงเครียดระหว่างสองสิ่งที่มีคุณค่าด้วยกันทั้งคู่ โดยเห็นว่า เราสามารถมองโลกแบบ “และ...ใช่ทั้งคู่” (Both/And) ไม่ใช่แค่เพียงแบบ “หรือ...อย่างใดอย่างหนึ่ง” (Either/Or) นี่คือเครื่องมือ เพื่อขยายมุมมองเราให้เปิดกว้าง พร้อมเผชิญความเป็นจริงในโลกที่สลับซับซ้อน