เมื่อพูดถึงคำว่า "ภาวะผู้นำ" (Leadership) โดยทั่วไปก็จะพ่วงมาด้วยคำว่า "การมีอิทธิพล (Influence) หรือโน้มน้าวใจให้คนอื่นทำตาม"
เมื่อได้ยินคำนี้ ผมจะเกิดความรู้สึกต่อต้านเล็ก ๆ นั่นเป็นเพราะผมสนใจ "ภาวะผู้นำในแบบเอื้ออำนวย" (Facilitative Leadership) ที่ให้อิสระกับผู้อื่นในการเลือกอย่างมีสติด้วยตนเอง มากกว่าชี้นำในขณะที่ผู้อื่นเกิดอารมณ์ชุลมุน
แต่พอชอบอย่างแล้วปิดใจอย่าง ก็กลายเป็นอคติ ลดทอนความสามารถในเปิดรับ วันนี้ ผมจึงค่อย ๆ เปิดใจศึกษาคำว่า "การมีอิทธิพล" หรือ "Influence" จากกูรูด้านภาวะผู้นำอย่าง John C Maxwell
เขาเริ่มต้นให้ความหมายของคำว่า "Influence" ว่า "Integrity" ซึ่งแปลว่า ความซื่อตรง รวมไปถึง การสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับผู้อื่น
พอเริ่มต้นแบบนี้ ค่อยเข้าท่าขึ้นมาหน่อย เป็นแนวคิดที่รู้สึกสบายใจที่จะไปบอกต่อได้ว่า "อินฟลูเอนเซอร์" (Influencer) คือ "ผู้ที่มีความซื่อตรง และมุ่งเน้นสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับผู้อื่น"
โดยการมีอิทธิพล (Influence) แบ่งเป็น 4 ระดับ
เป็นบุคคลต้นแบบ ผู้คนทำตามเพราะประทับใจจากสิ่งที่พวกเขาได้ยินได้เห็น ถึงแม้จะไม่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวก็ตาม เหมือนอย่างการทำตามบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นต้น
เป็นผู้จูงใจ ผู้คนทำตามเพราะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เกิดการเชื่อมโยงในระดับความรู้สึก รู้สึกมีความสุข มีประโยชน์ เริ่มนำพาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกหรือเชิงลบได้
เป็นเหมือนพี่เลี้ยง ผู้คนทำตามเพราะเราเป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่ช่วยเหลือเขาทั้งด้านการงานและชีวิตส่วนตัวของเขาให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง หลังจากเป็นพี่เลี้ยงเขาแล้ว ก็ยกระดับภาวะผู้นำเขา จนเขากลายเป็น Model คือ กลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพล สร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับคนอื่นได้ต่อไป
ในขณะที่การซื่อตรง (Integrity) คือ รากฐานของความสัมพันธ์ เช่น ในอดีต Johnson & Johnson เคยยอมสูญเสียเงิน 100 ล้านดอลล่า เพื่อเก็บคืนสินค้าไทลินอล หลังจากมีบุคคลภายนอกวางสารปนเปื้อนในสินค้า หลังจากนั้น สถานการณ์กลับกลายเป็นดีขึ้นอย่างไม่คาดคิด เมื่อลูกค้าต่างพากันชื่นชมการตัดสินใจที่มีความซื่อตรงในครั้งนั้น
โดยในหนังสือ Becoming a Person of Influence: How To Positively Impact the Lives of Others ประกอบด้วย 10 บท ไล่เลียงเนื้อหาตามอักษรตัวแรก เป็นคำว่า I N F L U E N C E R ดังนี้
การซื่อตรงกับผู้อื่น ทำให้เกิดความไว้วางใจ เมื่อเรามีแรงจูงใจที่จะทำสิ่งใด ผู้คนจะเชื่อมั่นในสิ่งนั้น ความเชื่อมั่นจึงกลายเป็นโอกาส ให้เรามีอิทธิพลในการสร้างคุณค่าให้กับผู้อื่นได้
การหล่อเลี้ยงผู้อื่น โดยการให้กำลังใจ ให้การยอมรับ ให้ความมั่นคง ให้ความหวัง ไม่ใช่เพื่อให้เขาพึ่งพาความเป็นผู้นำจากเรา แต่เพื่อให้เขาได้เติมเต็มภายใน จนสามารถใช้ศักยภาพตัวเองได้เต็มที่
การศรัทธาในผู้อื่น ไม่ใช่ให้เขามาศรัทธาเรา แต่ให้เขาศรัทธาในตนเอง อุปสรรคภายนอกนั้น ไม่เท่าอุปสรรคภายในใจ ผู้คนที่ขาดการนับถือในตนเอง จะถูกเหนี่ยวรั้งไม่ให้กล้าลงมือทำสิ่งต่าง ๆ
การฟังผู้อื่น ให้คุณค่าเขาและสิ่งที่เขานำเสนอ จะช่วยให้เกิดความประทับใจและความน่าสนใจ หากผู้นำฟังทีมงาน ทีมงานจะเกิด loyalty ที่แข็งแรงกับผู้นำ แม้ว่าผู้นำจะมีหรือไม่มีตำแหน่งก็ตาม
การเข้าใจผู้อื่น จำเป็นต้องก้าวข้าวมุมมองของตนเอง การมองผ่านมุมมอง พื้นฐานประสบการณ์ และบริบทของตนเอง คือ อุปสรรคในความสัมพันธ์
ขยายศักยภาพผู้อื่น เพราะเป็นไปได้ว่ามนุษย์จะเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อประสบกับปัญหาเท่านั้น แทนที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างที่สามารถจะทำได้
การนำทางผู้อื่น ในช่วงเวลาที่ชีวิตโซซัดโซเซ เหมือนเรือที่โดนคลื่นลมถาโถมเข้าใส่ ผู้คนต้องการผู้นำทาง หรือเดินเคียงข้าง เพื่อรักษาทิศทาง ลดข้อผิดพลาด จนกว่าเขาจะเข้าสู่กระแสธารที่ใช่ และเดินได้ด้วยตนเอง
การเชื่อมโยงกับผู้อื่น ผู้นำอาจคิดว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้ตาม ในการเริ่มต้นการติดต่อ แต่ความจริงผู้นำที่ติดต่อผู้อื่นก่อน จะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีมาก
การกระจายอำนาจ มากกว่าที่จะเน้นกักตุนอำนาจ มอบความไว้วางใจให้ผู้อื่นได้ตัดสินใจหรือลงมือทำด้วยตนเอง เขาจะเกิดการเรียนรู้ในบทความหใม่ และเกิดการยกระดับศักยภาพในตนเอง
การสร้างผู้มีอิทธิพล ให้เขาได้กลายเป็นผู้มีอิทธิพลต่อคนอื่นเช่นกัน นี่คือการยกระดับภาวะผู้นำให้เขา และถ้าเรามีอิทธิพลต่อผู้นำ นั่นหมายความว่า เรามีอิทธิพลทางอ้อมต่อทุกคนที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ Tommy Spaulding (2022) ได้เสนอคุณสมบัติของผู้มีอิทธิพลไว้ 4 อย่าง ไล่เลียงตามอักษรตัวแรก เป็นคำว่า L E A D ได้แก่
ยกย่อง ยอมรับ ชื่นชม ขอบคุณผู้อื่น ในวันธรรมดา ๆ วันหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องรอคอยโอกาสพิเศษ หรือวันที่ใคร ๆ ก็ต่างพากันชื่นชมเขา ข้อความที่เราชื่นชมเขาจากใจในวันนี้ อาจเป็นกำลังใจให้เขาในวันที่เขายากลำบากที่สุดในชีวิต
โอบรับคนอื่น ไม่บูลลี่คนอื่น และไม่คล้อยตามบูลลี่คนอื่นตามคนส่วนใหญ่ รวมถึงขัดขวางการบูลลี่ที่พบเห็น แม้จะทำเพียงลำพัง ทำความรู้จักเขามากขึ้น เราจะไม่ใช่แค่โอบรับเขาได้ แต่เราจะพบว่าเราจะยกย่องเขาได้
ปัญหาทางเศรษฐกิจ และความรุนแรงเชิงโครงสร้าง มีส่วนทำให้เกิดอาชญากรรมในชุมชน แต่ศัตรูเราไม่ใช่คน ทางออกจึงไม่ใช่การกำจัดคน แต่คือการให้โอกาสคน มีพื้นที่ มีโอกาสในการทำงาน ให้การฝึกอบรมทุกคน ในการทำงาน รวมถึงเปิดรับ พร้อมปรับเปลี่ยนชุดความคิดเพื่อการทำงานร่วมกัน
อุทิศตน สละตน สละเวลา สละชีวิต บางคนทำงานเพื่อสังคม บางคนดูแลคุณพ่อเพียงลำพัง บางคนดูแลคุณแม่เพียงลำพัง สิ่งเหล่านี้ อาจไม่ได้ช่วยเพิ่มยอดไลค์ แต่สั่นสะเทือน สร้างการเปลี่ยนแปลงในจิตใจ และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมได้
ในยุคดิจิทัลคำว่า ผู้มีอิทธิพล หรือ อินฟลูเอนเซอร์ มีความหมายต่างไปพอสมควร อย่างไรก็ตาม การดำรงอยู่และการกระทำของเราส่งผลต่อผู้คนรอบตัวอยู่เสมอ ในความหมายนี้ ทุกคนต่างก็เป็นผู้มีอิทธิพล (Incluencer) โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และหากเรามีเป้าหมายในชีวิตอย่างใดอย่างหนึ่ง การเรียนรู้เรื่องการมีอิทธิพล (Influence) ก็จะช่วยเกื้อกูลให้เราบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ได้ง่ายขึ้น และสะดวกขึ้น
--- รัน ธีรัญญ์
งานเขียนที่เกี่ยวข้อง
References: