ขอบคุณจุดเริ่มต้นของทักษะการฟัง ที่ได้เริ่มต้นฝึกฝนจริงจังในปี พ.ศ.2556 ตอนที่ได้เรียน Deep Listening และ Compassionate Listening กับหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ที่งานภาวนา Happy teacher will change the world ที่ มจร. วังน้อย
จากนั้นช่วงปี 2556-2558 ผมเริ่มต้นฝึกการฟัง โดยการคว่ำตัวเองให้ได้ ฝึก Keep a low profile (ฝึกไม่อวดเก่ง) สังเกตเสียงด้านในตนเอง เวลาที่เราไปร่วมกิจกรรมกระตุ้นต่อม "กูรู้" ให้ฝึกอั้นอาการอวดเก่ง อยากบอก อยากสอนให้ได้ ถึงแม้เราจะคิดว่านั่นคือความหวังดีก็ตาม เช่น ไปร่วมงานดูหนังหาแก่นธรรม เวลาเขาแชร์ธรรมะ ให้ฝึกอั้นให้ได้, เวลาไปฟังสาธยายปฏิจจสมุปบาท เขาเชิญให้สาธยาย ให้ฝึกอั้นให้ได้ เวลาไปปฏิบัติธรรมได้สภาวะอันละเอียด ให้ฝึกอั้นให้ได้ ฯลฯ อย่าพึ่งพูด ฝึกแบบนี้ เราจะเป็นอิสระจากด้านใน คือ เมื่อเกิดความคิดอยากจะพูด เราจะเป็นผู้เลือกเอง ว่าจะพูดหรือไม่พูดก็ได้
ได้ยินเสียงความคิดตนเอง แล้วเอามันอยู่ ชีวิตจะเปลี่ยน จากนั้นเสียงต่อไป คือ เสียงตัดสินตนเองและผู้อื่น มันจะค่อย ๆ จางไป การอยากควบคุมคนอื่นจะค่อย ๆ จางไป ไม่ใช่เกิดมาจะเป็นเลย แต่ฝึกได้ มันสนุกด้วย น้ำตาแทบเล็ด เมื่อเห็นอาการอยากพูด แล้วไม่พูด ไม่ต้องกลัวจะเป็นคนพูดน้อยเกินไป ไม่สมดุลหรือเปล่า สำหรับผมคิดว่า เรายังสามารถฝึกงดพูดได้อีกมาก กว่าข้างในจะสมดุล จนเป็นอิสระจากความอยากพูด เมื่อฝึกฝนบ่มเพาะมากขึ้น ๆ เราจะยอมให้ความคิดเห็นของเราถูกปรับแก้ได้ เมื่อนั้น คือ เวลาที่เราควรพูดได้แล้ว
หลังจากนั้น เราจะได้ยินเสียงคนอื่นอย่างลึกซึ้ง การฟังอย่างลึกซึ้ง ในบริบทขององค์กร จะไม่ใช่แค่ฟังนาน แต่คือการรู้ว่าคนพูดกำลังต้องการอะไร ร่างกาย ความคิด จิตใจของเขาเป็นอย่างไร บริบทในงานเป็นอย่างไร เรามีบทบาทอย่างไรบ้าง เหตุปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้เราสามารถพิจารณาเลือกการฟังให้เหมาะสม
The EACH Listening (ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร) นำเสนอว่าการฟังมีได้ 4 แบบในบริบทที่ทำงาน ได้แก่
โดยแบบที่ 1-2 นั้น คือ การใส่ใจคนก่อน และแบบที่ 3-4 นั้น คือ การสร้างสรรค์งานและสร้างคนด้วย จะเลือกฟังแบบไหนขึ้นอยู่กับผู้พูดกำลังต้องการสิ่งใด ดังนั้น จะทำอย่างไรเราจึงรู้ความต้องการของเขาได้อย่างชัดเจน และเป็นอิสระจากการอยากพูดตามใจตนเอง
ทั้งหมดนี้ คือ การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจาก การฟังอย่างลึกซึ้งเข้าไปในใจตนเองก่อนครับ
--- รัน ธีรัญญ์