Culture Shock ในที่ทำงานใหม่

Culture Shock ในที่ทำงานใหม่

🌸ขั้นที่ 1. ตื่นตาตื่นใจ (Elation)

Initial excitement and fascination with the new culture.

พีทได้เข้าทำงานที่บริษัทใหญ่แห่งหนึ่งในตำแหน่งที่ใฝ่ฝัน ทุกอย่างดูน่าตื่นเต้น ทั้งสำนักงานสวย ๆ เพื่อนร่วมงานใหม่ ๆ บรรยากาศการประชุมที่ดูมืออาชีพ และสวัสดิการเพียบ พีทรู้สึกว่า นี่แหละที่ตามหามานาน ตื่นมาทำงานทุกเช้าด้วยความสุข สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

🌸ขั้นที่ 2. ต่อต้านสิ่งใหม่ (Resistance)

Feelings of frustration and hostility as differences become apparent.

พอเวลาผ่านไปประมาณ 2-3 เดือน พีทเริ่มรู้สึกว่า ระบบงานของที่นี่ซับซ้อนมาก วัฒนธรรมการสื่อสารตรงไปตรงมาเกินกว่าที่เคยเจอ ทำให้บางครั้งรู้สึกโดนตำหนิแรง ๆ เวลางานผิดพลาด ความคาดหวังสูง ทำให้รู้สึกกดดัน คิดถึงที่ทำงานเก่า ๆ ที่สบาย ๆ บางวันถึงขั้นไม่อยากไปทำงาน นี่คือช่วง culture shock ในการทำงาน

🌸ขั้นที่ 3. ปรับสู่สิ่งใหม่ (Transformation)

Gradual adjustment and adaptation to the new cultural norms.

หลังจากได้พูดคุยกับรุ่นพี่ในทีม และเริ่มเข้าใจว่า วัฒนธรรมแบบนี้ไม่ได้เป็นการตำหนิส่วนตัว แต่เป็นวิธีทำให้ทีมเดินไปข้างหน้า พีทเริ่มเรียนรู้วิธีรับมือกับ feedback และจัดการอารมณ์ตัวเอง ค่อย ๆ ปรับ mindset จากการมองว่างานหนักเป็นปัญหา เป็นการฝึกทักษะของตัวเองแทน

🌸ขั้นที่ 4. เข้าที่เข้าทาง (Integration)

Full acceptance and integration of the new culture into one's life.

เมื่อผ่านไปครึ่งปี พีทกลายเป็นคนที่ทำงานเป็นระบบมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ปรับตัวได้กับวัฒนธรรมการทำงานที่ตรงไปตรงมา และยังรักษาความเป็นกันเองแบบเดิม ๆ ของตัวเองไว้กับเพื่อนร่วมงาน พีทรู้สึกว่า ตอนนี้เป็นตัวเองในเวอร์ชันใหม่ ที่ดีขึ้น และอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมองค์กรนี้ได้อย่างมั่นใจ

--- รัน ธีรัญญ์

Reference: Dr. Cathy Tsang-Feign. (2013). The four different phases of acculturation.

Run Wisdom วิทยากร กระบวนกร ที่ปรึกษา
Since:
Update:

Read : 54 times