นักการศึกษาจีน 3 คน ได้แก่ เฉิน (Zhimin Chen), โจว (Guorong Zhou) และ หวัง (Shichen Wang) ได้ร่วมกันเสนอภาวะผู้นำสากล (International Leadership) แบบใหม่ ผ่านบทความวิจัย ชื่อ ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวยและบทบาทใหม่ในโลกของประเทศจีน (Facilitative Leadership and China’s New Role in the World) โดยเรียกว่า ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวยสากล (International Facilitative Leadership) ประกอบด้วย 4 คุณลักษณะ คือ
ประเทศจีนได้กลายเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลมากขึ้นในโลก ได้แก่ บทบาทการควบคุมดูแลสภาพอากาศของโลกและการพัฒนาระหว่างประเทศ ในขณะที่รัฐบาลจีนยังคงหลีกเลี่ยงคำว่า ภาวะผู้นำสากล (International Leadership) ตามมาตรฐานเดิม เมื่อต้องกล่าวถึงอย่างเป็นทางการ เนื่องจากประเทศจีนอยู่ในระหว่างการฝึกฝนปฏิบัติด้านภาวะผู้นำสากล และมีสมมติฐานที่มากกว่าเดิม บทความวิจัยนี้ได้อธิบายถึงเหตุผลต่าง ๆ เบื้องหลังความลังเลใจของจีนที่จะโอบรับชุดข้อมูลด้านภาวะผู้นำตามมาตรฐานเดิม และพยายามจะพัฒนาแนวคิดของภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวย (Facilitative Leadership) บนพื้นฐานของการฝึกปฏิบัติภาวะผู้นำของจีนที่มีอยู่แล้ว เพื่อแก้ไขปัญหาแนวความคิด และเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นภาวะผู้นำที่สร้างสรรค์ เหมาะสมในกิจการต่าง ๆ ของโลก
ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวย (Facilitative Leadership) ที่นำเสนอ ไม่ใช่เพียงเพื่อประเทศจีนแต่เพื่อนานาประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศจีนหากจะต้องใช้ ภาวะผู้นำแบบดั้งเดิม (Traditional Leadership) ตามอย่างประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เป็นเรื่องที่ทำใจได้ยากเป็นอย่างมาก ประเทศจีนจึงจำเป็นต้องสร้างภาวะผู้นำระหว่างประเทศแบบใหม่ และภาวะผู้นำที่มีความเหมาะสมที่สุดในอนาคตอันใกล้นี้ คือ ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวย (Facilitative Leadership)
ระหว่างการประชุมด้านความมั่นคงที่เมืองมิวนิค ประจำปี 2560 (The Munich Security Conference 2017) เจ้าภาพได้เผยแพร่รายงานความมั่นคง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการรักษาระเบียบระหว่างประเทศตะวันตก (The Western International Order) เป็นเวลานานมากแล้ว ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น ที่ 18 ชาติตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ได้จัดทำภาวะผู้นำสากล (The International Leadership) ขึ้นมา ภาวะผู้นำแบบนี้ กำลังกลายเป็นวิกฤติ ทั้งในมิติภายในประเทศและมิติระหว่างประเทศ ประเทศจีนได้มีข้อร้องเรียงมากมายต่อภาวะผู้นำแบบตะวันตก (The Western Leadership) อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ควรเป็นเหตุผลสำหรับประเทศจีนในการหลีกเลี่ยงแล้วดำรงอยู่แบบคนนอก เพราะมีองค์ประกอบที่มีคุณค่าอยู่ในองค์กรระหว่างประเทศ เช่น เศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เปิดกว้าง, การควบคุมดูแลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ, การรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติ และวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ มีส่วนร่วมในการจัดตั้งสถาบันเหล่านี้ เมื่อมีปัญหาด้านภาวะผู้นำ ประเทศจีนควรแสดงความรับผิดชอบมากขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดจากอดีตของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตก ไม่เจริญรอยตามภาวะผู้นำระหว่างประเทศในแบบดั้งเดิม ที่มีความเป็นเอกเทศ ทำเพื่อตัวเอง เห็นแก่ตัวเอง บีบบังคับผู้อื่นหรือผูกขาดความเป็นผู้นำ ประเทศจีนจำเป็นต้องเปิดรับภาวะผู้นำสากล ในแบบที่รู้แจ้งมากขึ้น (A more enlightened type of international leadership) ซึ่งนั่นก็คือ ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวยสากล (International Facilitative Leadership) (Chen, Zhou and Wang, 2017)
--- ดร.ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร
แหล่งอ้างอิง: ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร. (2564). ภาวะผู้นำแบบเอื้ออำนวยใน "คณะดั่งกันและกัน" หมู่บ้านพลัม ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
งานเขียนที่เกี่ยวข้อง