Reflection:
สถานการณ์/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในการโค้ชเมื่อเย็น เป็นอย่างไร?
ฟังด้วยหัว:การดูแลผู้ป่วยติดเตียง พ่อแม่ หลาน บุคคลทั่วไป อสม. รพสต. โรงพยาบาล
ฟังด้วยภาพ:การสูญเสียพ่อ พาครอบครัวเที่ยวเมื่อมีโอกาส ทานกับข้าวที่แม่ทำให้กิน พาแม่ไปตลาดซื้อวัตถุดิบมาทำเพื่อการบริโภค
ฟังด้วยหัวใจ:ปลื้มปีติยินดี รับปริญญา นักเรียนทุนเรียนต่อต่างประเทศ
ฟังด้วยข้างใน:ขนลุก ลูบแขน ตาลุกวาว
ฟังคำสำคัญ:กตัญญูกตเวทิตา
ช่วงแรก โยมทั้งสองท่าน เป็นผู้เริ่มสนทนา เกี่ยวกับ อ.วิน ด้วยความสนใจว่า ท่านเป็นนักบวชแบบไหน จำวัดที่ไหน ทำอะไรยังไง เลยให้ข้อมูล อ.วิน ไปแบบคร่าวๆ แล้วถาม โยมทั้งสองท่านกลับไปว่าประทับใจ ท่านตรงไหน โยมทั้งสองก็ตอบประมาณว่า ชอบวิธีการที่นำพาสู่ความสงบ เลยถามโยมต่อไปว่า แล้วปกติ โยมทำอะไรกันในชีวิตประจำวันบ้างถึงชอบความสงบโยมเลยให้ข้อมูลกลับมาว่า ทั้งสองท่านเป็น อสม. มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่ศูนย์นวมินทร์ เลยให้โยมทั้งคู่เล่าให้ฟังสักหน่อยได้ไหม โยมเลยเล่าเกี่ยวกับเคสที่ต้องดูแลผู้ป่วยพิการสามคนที่อยู่ในบ้านเดียวกัน มีบางที่ก็มีของติดไม้ติดมือไปฝากเขาบ้าง บางทีก็ต้องควักเงินตัวเองมาช่วยเหลือเขาบ้าง แต่บ้านนี้เข้าระบบแค่เพียง 1 ราย อีก 2 รายไม่ได้เข้าระบบแต่ก็ต้องดูแลโยมเล่าไปสบตาผมเกือบตลอดเวลา สุดท้ายก็ให้กำลังใจโยมทั้งคู่ โยมมาบอกทีหลังว่าสบายใจดี
โยม2 คน เรียกให้นั่ง เราแอบดีใจ บวกหนักใจ ที่มีโยมเลือก
นั่งลงไป หนักใจ จะเริ่มทำยังไงดี เลยชวนคุยเพื่อ สร้างความสัมพันธ์ ตอนนี้โยมทั้ง2
รู้สึกไงบ้าง เขาบอก มีความสุข สนุก
เรื่องราวในชีวิตข่วงนี้ สำหรับความสุขแล้วคิดว่าให้ที่กี่คะแนนเขาบอกว่า 9 ลูก สามี งานเงินดีหมดทุกอย่างเลย (คนนึง มีการกอด อก อีกคนดูประม่า ตามองส่ายไปส่ายมา)
สะท้อนไปว่าดีใจ และภูมิใจ ที่ได้ทำหน้าที่ แม่และภรรยาที่ดี ใช่ไม๊ครับ
เราตกใจ แต่ถามว่า อีก อีก1 คะแนนคืออะไร
โยมตอบ เผื่อไว้
เรา ในใจ งง (หือ)
เขาชวนคุย ถามไถ่เรื่องเรา มากี่วัน บวชนานรึยัง
ขออภัยนะครับ คือ เรามีเวลาที่จะทำการบ้าน 15 นาที
ผมเลยจะขออนุญาต ฟังเรื่องของโยมมากกว่า
คุยเรื่องของความสุข
ได้ ทำงานสาธารณะ เป็นหัวหน้า อสม.
ดูแลคนแก่ คนป่วยตามบ้าน
ผมสะท้อนไปว่า คุณโยม
ดีใจ ที่ได้ทำงานเพื่อคนอื่น
เริ่ม เปิดแมสคุย ซื้อของกินไปให้คนแก่
ทำงานแบบนี้ตั้งแต่ยังไม่มีเงินเดือน
(ผมเห็นถึง ความตั้งใจที่รักในหน้าที่)
เขาบอกว่าตอนนี้ คนเริ่มร่อยหรอ
เรียกใครมาช่วย เขาบอกว่า มาทำทำไมให้เหนื่อยลำบาก
สะท้อนไปว่า รุ้สึกกังวลใจ และอยากให้มีคนเพิ่มในทีม ใช่ไม๊ครับ
เขาตาโต บอกว่าใช่ๆๆๆๆ
เริ่มจากโยมถามเกี่ยวกับการสวดมนต์เราสามารถสวดเป็นภาษาไทยเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่
ก็ได้ตอบคำถามโยมไปว่าจริงๆการสวดมนต์แล้วทราบความหมายก็เป็นเรื่องดีและมีบางวัดที่ก็มีการสวดมนต์แปล แต่ก็มีความสำคัญในการที่จะรักษาภาษาบาลีไว้เพราะคำว่าบาลีมาจากคำว่ารักษาซึ่งก็คือการรักษาพุทธพจน์นั่นเอง
หลังจากนั้นได้ชวนโยมสนทนาต่อเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่โยมทำอยู่ในปัจจุบัน
โยมก็เล่าว่าปัจจุบันเป็น อสม งานส่วนใหญ่คือเข้าไปดูแลคนไข้ติดเตียง เป็นการเข้าไปเยี่ยมและคอยประสานผู้ดูแลอีกทอดหนึ่ง สัมผัสได้ถึงสีหน้าและน้ำเสียงของโยมที่มีความสุขในการที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น โยมได้เล่าต่อเกี่ยวกับการเข้าไปช่วยเหลือเนื่องจากครอบครัวตัวเองค่อนข้างมีพร้อมแล้ว เงินเดือนที่ได้จึงบริจาคเป็นของใช้ให้กับผู้ป่วย และเป็นการที่ได้สานความฝันวัยเด็กที่มีความต้องการเรียนพยาบาล แต่เนื่องจากโตมาในครอบครัวที่ลำบากเพราะได้เสียคุณพ่อไปตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้คุณแม่ไม่สามารถส่งเรียนพยาบาลได้ สิ่งที่ได้ทำอยู่ในวันนี้ก็เลยเหมือนเป็นสิ่งที่ตอบความฝันในชีวิตที่ผ่านมาและมีความสุขกับมัน และยังพูดถึงเกี่ยวกับการช่วยเหลือโดยที่ไม่ต้องหวังผลตอบแทน
ก็เลยได้ชวนโยมคุยต่อถึงประเด็นการช่วยเหลือคนโดยไม่ต้องหวังผลตอบแทนมันให้ความรู้สึกเช่นไร
โยมก็เล่าว่ามันให้ความรู้สึกที่ดี เป็นสิ่งที่นึกถึงทีไรก็ให้ความรู้สึกอิ่มใจอยู่เสมอ
เราก็เลยได้โอกาสที่จะชื่นชมผ่านการบอกความรู้สึกว่าเกิดความรู้สึกอิ่มใจไปด้วยจากการได้ฟังเรื่องราวที่โยมเล่าให้ฟัง
โยมได้เล่าต่อถึงเหตุการณ์หนึ่งที่พึ่งเกิดขึ้นได้ไม่นานว่ามันได้ให้ข้อคิดบางอย่างกับตนเอง เนื่องจากได้เข้าไปช่วยเหลือสามีภรรยาคู่หนึ่งที่สามีกลายเป็นคนติดเตียง และตัวภรรยาเองก็ป่วยเป็นโรคหัวใจมีอาการเท้าบวม แต่ก็ยังดูดีกว่าฝ่ายสามีที่ติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ ซึ่งตัวโยมเองก็คอยเตือนฝ่ายภรรยาว่าให้รีบไปหาคุณหมอ แต่ปรากฎว่าเมื่อไม่นานมานี้ตัวภรรยาได้เสียชีวิตลง ทำให้โยมได้กลับมาตระหนักรู้ถึงความไม่แน่นอนในชีวิต เพราะตอนแรกคิดว่าตัวสามีน่าจะเป็นคนที่จากไปก่อน
ได้โอกาสชวนโยมย้อนกลับมาหันกลับมามองที่ชีวิตของตัวเองว่าเมื่อรับรู้เรื่องนี้แล้วมองย้อนกลับมาที่ที่ชีวิตตัวเองคิดอย่างไร
โยมได้เล่าถึงโอกาสที่ยังมีชีวิตอยู่ ว่าอยากจะใช้ในการทำความดีให้ดีที่สุด และมีความมุ่งหวังถึงความพ้นทุกข์
ไม่ได้คุยอะไรกับโยมต่อเพราะเวลาที่ให้ใกล้หมดเวลาแล้ว แต่ก็สัมผัสได้ว้าโยมน่าจะมีเรื่องอะไรในใจให้ชวนรับฟังและเรียนรู้ได้อีก
เหตุการณ์
เมื่อุงเวลานัดหมาย พระเข้าห้องประชุมที่โยมรออยู่แล้ว พระเงยหน้าไปที่กลางห้อง พบโยม ๒ ท่านสบตามา แล้วโยมได้ ตะโกนพร้อมกันว่า นิมนต์ค่ะ พระจึงเดินเข้าไป ที่เก้าอี้ที่จัดเตรียมไว้ และขอตัวไปรับน้ำอุ่น เมื่อกลับมาจึง แจ้งจอใส่FaceShield ระหว่างสนทนา
จากนั้นจึงถึงเวลา แนะนำตัว ซึ่งกันและกัน คุณโยมถามถึงกริยาท่าทางระหว่างการสนทนาควรเป็นอย่างไร พระตอบว่า ตามสบาย ที่ปรารถนา สบายสบาย
เมื่อแนพนำตัวเรียบร้อยแล้ว พระจึงแจ้งว่า ๑๒ นาทีต่อไปนี้ เป็นเวลาของคุณโยมทั้งสอง มีความต้องการการใช้เวลาตามควรอย่างไร เชิญตามอัธยาศัย
คุณโยม#๒ :ถามคำถามว่า ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ลูก ที่เพิ่งเสียชีวิตไป สองปีกว่า บุญนั้นจะส่ง ให้ถึงลูกไหม
พระ: ขอแสดงความเสียใจตอการจากไป ของลูกด้วยนะ
ก่อนหน้า ที่ลูกคุณโยมจะเสียไป คุณโยมเมื่อทำบุญแล้ว
ส่งอุทิศให้กับ ท่านใดมาก่อนบ้าง
คุณโยม#๒: พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ...พี่น้องค่ะ ....
พระ: พอจะสะดวก ก็ให้รายละเอียด ของลูกเพิ่มเติมก็ได้นะ
โยมเล่า ประมาณ ๗ นาที
จากนั้นบรรยากาศ เป็นไปด้วย ความเป็นกันเอง
โยมเล่า
พระฟัง โยม#๑ เสริม
และจบลงด้วยความเข้าใจจากการแสดงออก
พอเข้าเรื่อง ในช่วงแรกโค้ชชี่ได้มีการเล่าเรื่องมาเพียงนิดหน่อย ประมาณ 1-2 บรรทัด แล้วโยนประโยคคำถามมาให้ตอบว่า "พระอาจารย์จะทำอย่างไร หรือมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดการกับเด็กพวกนี้บ้าง ?" พอได้รับฟังประโยคนี้ ทำให้รู้สึกว่า มันเร็วเกินไป และยังตั้งตัวไม่ทันที่จะเตรียมพร้อมรับมือกับคำถามตรง ๆ ที่โยนมาเพื่อต้องการคำตอบ ในความรู้สึกลึก ๆ ในใจมันบอกอยู่สม่ำเสมอว่า ตอนนี้ขณะนี้เราเป็นโค้ชชิ่งอยู่นะ นั้นไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องตอบคำถามเขา หรือหาทางออก หรือช่วยเขาค้นหาคำตอบให้เขา ถึงแม้เราจะรู้คำตอบและรู้วิธีการแก้ไขปัญหานี้อยู่บ้าง และบอกกับตัวเองว่าห้ามพูดออกหลุดปากไปอย่างเด็ดขาด เพราะเรากำลังแสดงบทบาทเป็นโค้ชชิ่งอยู่นะ ในความคิดพยายามแสวงหาคำถามเขา
จะมีความบีบคั้นในของการต้องการคำตอบของโค้ชชี่
สถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเย็นนี้เป็นอย่างไรบ้าง?
ช่วงแรกของการสนทนา บรรยากาศของคู่สนทนาของผมดูผ่อนคลายและเป็นกันเองมาก ผมและโยมเปิดการสนทนากันด้วยการถามไถ่ว่า ”มาที่นี่ได้ยังไง“ ”รู้สึกยังไงบ้างที่ได้เข้ามาในที่นี่“
ซึ้งก็ได้ร่วมแบ่งปันกันในคำถามทั้ง 2 คำถามนี้ (อย่างออกรส) โยมได้ถามถึงเหตุผลที่เข้ามาในการอบรม ก็ได้อธิบายให้ฟังถึงความสนใจที่เข้ามาร่วมอบรมในครั้งนี้ และโยมก็ได้เล่างานให้ที่ได้ทำในการสานสัมพันธ์กับศาสนาเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม เล่าถึงการทำงานกับพระและการได้มารู้จักท่านวุธ เป็นผู้ให้การสนับสนุนในการวิจัยอบรมพระในครั้งนี้ และงานที่ทำที่ช่วงเปลี่ยนสังคมอย่างเห็นคุณค่า
1. สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการโค้ชเมื่อเย็นนี้
คำถาม 1. ชอบโดนเพื่อนหักหลังประจำ
โยม : เพื่อนชอบลืม ไม่นึกถึง
ผม : เกิดอะไรขึ้นบ้าง
โยม : เกิดการตั้งกำแพง ไม่อยากคบใครอีก
ผม : คิดว่าจะทำอย่างไร
โยม : จะคบอย่างผิวเผิน ไม่ลงลึก จะได้ไม่เสียใจ
คำถาม 2. ไม่เข้าใจในคำสอนในพุทธศาสนา
ผม : พระพุทธศาสนาสอนอะไร
โยม : รักษาศีล 5
ผม : การรักษาศีล 5 ทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง
โยม : ( อธิบายรายละเอียดทีละหัวข้อ ที่จะทำใหไม่ทุกข์ )
คำถาม 3. ในใจชอบคิดเรื่องดีและเรื่องไม่ดี คิดเรื่องไม่ดีบาปไหม
ผม : คิดว่าการคิดไม่ดีบาปไหม
โยม : เกิดความรู้สึกไม่ดี
ผม : คิดว่าควรทำอย่างไร
โยม : มี สติ และ ขันติ ในการคิดทุกครั้ง
โยมมีปัญหาเศร้าใจเพราะหลานสาวที่เลี้ยงมา ถูกพ่อแท้ๆของเขานำกลับไปเลี้ยงเอง เพราะพ่อของเด็กเกิดการเข้าใจผิดว่า ปู่ย่าจะยึดลูกของตน จึงมีเหตุทะเลาะกัน ถึงขั้นตัดขาดญาติกัน
ง่าปู่ทุกข์ใจเพราะคืดถึงหลาน เพราะปกติเวลาออกทำงานก็จะพาไปด้วย ส่วนโยมย่าก็ไม่ต่างกัน แต่ทางย่าเข้าใจและทำใจได้มากกว่าทางปู่ ฟังถึงตรงนี้ก็รู้สึกหดหู่ เพราะการสื่อสารไม่เข้าใจกัน ย่าเล่าต่อว่าตอนี้ก็พอทำใจได้ออกมาทำงานก็พอลืมๆได้บ้าง
แต่พอกลับไปบ้านอยู่กันสองคนก็รู้สึกเหงาอีก เลยถามว่าหลังจากนี้มีการวางแผนอย่างไร เขาก็คิดว่าสุดท้ายอาจจะได้หลานคืนเพราะทางพ่อเด็กก็มีปัญหาอยู่บ้าง
โยม : พระอาจารย์จะสอนอะไรก็สอนได้เต็มที่นะ
พระ : โยมทั้งสองมาถึงวัดนี้ตั้งแต่ตอนไหน
โยม : เพิ่งมามาตอนเที่ยงนี่เองค่ะ
พระ : ได้กินข้าวกันรึยังน้อ
โยม : เรียบร้อยแล้วค่ะ อาหารอร่อยมาก
พระ : คุณโยมทำงานอะไรกันบ้าง
จากนั้นโยมด้านขวามือก็เล่ายาวถึงงานดูแลผู้ป่วยติดเตียงว่าตอนเริ่มต้นมีปัญหามากเพราะไม่อยากทำงานกับผู้ป่วยที่สกปรก ต่าตอบแทนก็น้อย คือได้แค่ค่ารถ แต่ต้องทำเพราะหัวหน้าสั่ง
จากนั้นก็เล่าว่าผู้ป่วยที่ไม่มีใครอยู่บ้านด้วยเรายังพอเข้าใจแต่บางรายทั้งที่มีลูกหลานแต่เขาก็ไม่สนใจ คนป่วยบางรายก็เอาแต่ใจ ทะเลาะกับคนในบ้านไปทั่ว
พระ : แล้วโยมคิดว่าอยากให้คนในครอบครัวเขามีส่วนร่วมยังไงบ้าง แล้วทำยังไงถึงจะให้เขามีส่วนร่วม
โยมเล่าว่าจริงๆ คนในครอบครัวต้องปลูกฝังกันมาตั้งแต่ลูกหลานยังเด็กๆ เราเป็นคนนอกจะไปสอนตอนนี้ก็คงไม่มีใครฟัง
พระ : แล้วมีกรณีไหนบ้างที่ได้ทำแล้วมีความสุขมาก
โยมก็เล่าถึงเหตุการณ์ที่เขาประทับใจ พระก็เลยให้กำลังใจต่อไปว่าที่เราทำอยู่นี้คือบุญตามหลักพุทธที่โยมเชื่อเลยนะ
#ยังไม่ได้เล่าของโยมคนที่สอง
เข้าไปก็ถามก่อนว่า โยมเป็นกลุ่มเดียวกันเนาะที่ทำงานนี้ เขาก็บอกว่าใช่ แล้วเราก็ขอชื่นชมแล้วก็ให้กำลังใจในการทำงานนี้ด้วย ต่อมาก็ถามว่างานที่ทำเป็นอย่างไรบ้าง โยมก็เล่าถึงงาน ว่าเป็นอย่างไร การทำงานของเขา6เดือนมีความรู้สึกมีคุณค่าแค่ไหน เขาเหนื่อยอย่างไร
เราก็ชื่นชมเขาว่า เหมือนการนั่งรับฟังผู้อื่นเลยเนอะ ใช่เลยหลวงพี่โยมก็บอก แล้วโยมก็เล่าว่า เขาต้องทำงานที่คอยแนะนำอย่างหนึ่งแล้วก็คอยรับฟังอีกอย่างหนึ่ง เลยชวนพูดต่อไปว่า เหมือนที่กำลังนั่งทำอยู่เลยเนาะ เขาก็เล่าว่าเขาฝึกการฟังที่ไหนอย่างไร จากที่ไม่เคยกล้าพูดก็กล้าพูดขึ้น มีช่วงฝึกงานก็ผ่านโดยใช้เวลา เดือน เดียว อยู่กับเขาจนถึงเวลาสุดท้าย แล้วไม่รู้จะชวนคุยอะไร เลยชวนถามไปว่า สำหรับการฟังของหลวงพี่ โยมให้คะแนนเท่าไหร่ เขาให้7 8 แล้วจึงชวนคุยต่อไปว่า ถ้าหลวงพี่อยากได้อีกสองคะแนนต้องเพิ่มตรงไหนบ้าง ……
1. ความรู้สึก : การเอาใจใส่ ความสุข
2. key word : ป่วยไข้ งาน เพื่อนร่วมงาน การเอาใจใส่ ความพอใจ ความสุข การดูเเลสุขภาพ
3. เหตุการณ์ :
- สุขภาพ ; ป่วยไข้ ลางาน10วัน กลับมาทำงานได้3วัน ร่างกายฟื้นยังไม่เต็มที่ อาการที่หลงเหลือ คือ เหนื่อยง่าย ..........
; การดูเเสุขภาพ จะลดการดื่มเเอลกอฮอล์ (แต่เมื่อร่างกายฟื้นเต็มที่แล้ว จะดื่มบ้าง ถ้าเพื่อนร่วมงานชวน) ต้องการให้ฟื้นตัวเต็มที่(อาการที่หลงเหลือ คือ ผื่นเเดง เหนื่อยง่าย)
- งาน : กลับมาทำงานได้ 3 วัน ต้องการให้ร่างกายฟื้นเต็มที่ จะได้ทำงานได้เต็มที่ มีความสุขกับการทำงานและหน้าที่ มีความสุขกับหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานในการทำงาน(ทั้งในภาวะที่ร่างกายปกติ และช่วงป่วยไข้และและพักฟื้น ในการถามไถ่ ช่วยเหลือในงาน
: พอใจและมีความสุข กับ 1.เพื่อนร่วมงาน และ 2. ตำเเหน่งหน้าที่.
4. อื่นๆ : อาการกาย เช่น หยุดครุ่นคิด ดวงตา ความสุข ผ่อนคลาย บลาๆ
ฯลฯ
สถารณ์เมื่อเย็นในใจข้าพเจ้ารู้สึกความเชื่อในใจของคุณโยมว่าคนดีผีคุ้ม เพราะคุณโยมผ่านเหตุการณ์เฉียดตายตาไม่หลับ แต่ที่ทำให้แคล้วคลาดไม่ถึงชีวิตเพราะเขาเชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิคุ้มครองตัวเจ้าเอง สิ่งนั้นเป็นผลมาจากการช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากนั่นเอง /มีการเคลื่อนจากความกลัวเป็นความโล่งใจที่ได้รอดชีวิตมานั่งอยู่ตรงหน้าข้าพเจ้า ณ ตอนนี้ /2. เหตุการณ์ - สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคือได้ทราบปัญหาอีกประการหนึ่งคือชีวิตนี้น้อยนักควรที่จะรีบสั่งสมบุญกุศลขึ้นในจิตขึ้นในใจให้มาก เพราะถ้าเรามัวแต่หลงว่าอายุจะยืนยาวคงอาจไม่มีโอกาสทำความดีเมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว...
1. โยม 3คนเล่าประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยติดเตียง เป็น อสม ทั้ง 3คน
คนที่1. มีความสุขในการดูแลที่ต้องอยู่กับสิ่งปฏิกูลของคนป่วยเนืองๆ
คนที่ 2 ดูแลแบบมีจิตกุศล หวังในบุญที่ทำาโดยไม่มีปัญหาเรื่องผลตอบแทน คนที่3 มีใจรักในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงแม้จะขัดสนเรื่องปัจจัยตอบแทนน้อย ทั้ง3 รายนี้ ต้องไปดูแลผู้ป่วยติดเตียง อาทิตย์ละ2ครั้ง หรือ 8ครั้ง/สัปดาห์ มีบางท่านแนะนำว่าพระน่าจะไปเยี่ยมด้วยเพราะผู้ป่วยจะรู้สึกดีมากๆ เพราะรู้สึกว่าเป็นไม่ใกล้ฝั่ง ต้องการที่พึ่งสุดท้ายในการรู้ทางไปหลังจากหมดลม… จบการสนทนา
เริ่มต้นเจอกันยังไม่ทักพระไปฉี่
แล้วค่อยกลับมาคุยโดนโยมถามไปสามที
ตอบเขาไปสักพักแล้วจึงเริ่มต้นเข้าที่
เริ่มต้นสนทนาเหมือนกับขึ้นเวที
เรื่องราวเป็นของคนเปี่ยมมั่นใจ
แต่มีเรื่องราวมากระเทือนโครมใหญ่
เป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่คนสำคัญทิ้งไว้
จึงเป็นภาวะทั่งโดดเดียว ทั้งมั่นใจ
ความสั่นไหวเริ่มไม่ไหวที่จะปิด
มั่นใจมาตลอดแต่ก็เริ่มครุ่นคิด
อะไรเกิดขึ้นจึงมีผลกับชีวิต
จนต้องมาหยุดเดินยอมเจ็บปวดนิด ๆ
ได้ระบายแล้วเริ่มรู้ว่ามีทางเลือก
เลือกที่จะเอาที่ง่ายหรือที่ยากเย็นเดินเจ็บเกือก
สุดท้ายจึงเข้าใจว่ายังไงก็ต้องเลือก
พอเลือกได้แล้วก็เริ่มมีชีวิตชีวา
แต่ก็มีชีวิตที่แอบกลั้นน้ำตา
ขออยู่ที่เดิมเพราะที่ใหม่มันง่ายกว่า
แต่รู้แล้วแหละว่าอะไรจะตามมา