ขันติธรรม ( Toleration)

ขันติธรรม คือ การอดทนอดกลั้นต่อความบีบคั้นทั้งทางกายและจิตใจ

เป็นหลักการสำคัญยิ่งต่อชีวิตทางโลกและทางธรรม กับทุกเหตุการณ์ที่เผชิญอยู่เบื้องหน้า
เป็นบารมีหนึ่งในวิสัยโพธิสัตว์ จะทำให้เต็มสมบูรณ์ ซึ่งท้าทายว่าจะใช้สถานการณ์นั้น
- เป็นโอกาสของการเรียนรู้ บ่มเพาะทางจิตวิญญาณ เข้าถึงความจริง รู้แจ้งจิตเดิมแท้
- หรือปล่อยให้ไหลไป ตามความคิด คำพูดและกระทำตามอารมณ์ โดยขาดสติพิจารณาไตร่ตรอง
.
ความกดดันที่เกิดขึ้นในชีวิต มีทั้ง
1. ความกดดันทางร่างกาย ได้แก่ ความเหนื่อยล้า ความเจ็บปวด ความอึดอัดไม่สบาย ความหิว ความง่วง แรงขับทางกายภาพ
2. ความกดดันทางจิตใจ ได้แก่ ความไม่พึงพอใจ ความผิดหวัง ความเศร้าโศกเสียใจ รู้สึกถูกดูหมิ่นดูแคลน ความกลัวกังวลต่างๆ
 
แรงกดดันเหล่านี้ จะกระตุ้นให้กลไกปกป้องตัวเอง คือสิ่งที่เรียกว่ากิเลส คือความโลภ โกรธ หลง และ รอยประทับฝังใจในอาลยวิญญาณ(จิตใต้สำนึก : Subconsciouness ) ผุดขึ้นมา และครอบงำด้วยสัญชาติญาณการเอาตัวรอด การทำตามใจตนเองจึงไม่ใช่การมีอิสรภาพแท้จริง แต่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากความไม่รู้เหล่านี้ สร้างรอยประทับฝังใจเพิ่มขึ้น (กิเลส กรรม วิบาก) และยังอาจก่อการเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว
 
การอดทนอดกลั้น เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะหยุดปฏิกิริยาจากความเคยชินเดิมซึ่งมีมานาน
เห็นแรงขับภายในคอยปลุกเร้าให้ตอบสนอง ก็ยังต้านกระแสความคิดอารมณ์นั้นๆได้
มีสติ และปัญญาเห็นสิ่งปรากฏและความว่าง จึงปลดปล่อยใจให้มีอิสระ ให้ความรักเมตตาผ่านการพูดและกระทำ
จึงชื่อว่ามี จิตสำนึกขั้นสูง หรือ พุทธะภาวะ เป็นหลักใจ สว่างไสวขึ้นทำหน้าที่ดูแลและขับเคลื่อนชีวิต
รศ.นพ.ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ จิตแพทย์
เขียน 01 ต.ค. 2566 04:30
ปรับแก้ 01 ต.ค. 2566 05:14