องค์กรของเรากำลังทำงานแบบ "แก้ขัด" อยู่หรือเปล่า

ในยุคที่มีการแข่งขันในทางธุรกิจ แต่ละคนต้องรับผิดชอบหน้าที่มากมาย และแก้ปัญหาต่างๆ
ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้
.
แต่เราเคยสังเกตมั้ยคะว่าต่ละงานที่สำเร็จลุล่วงไปได้นั้น เกิดจากการ “แก้ขัด” หรือ "แก้ไข"
คือ การปรับปรุงระบบการทำงานอย่างจริงจังเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ
.
ตัวอย่างการใช้วิธีแก้ขัด สำหรับปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์การทำงาน เช่น โรงพยาบาลมีผ้าปูเตียง
ของบางแผนกไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่อาจแก้ขัด ด้วยการไปยืมแผนกอื่นมาก่อน ซึ่งทำให้แก้ปัญหา
หน้างานได้ แต่ก็อาจจะสร้างปัญหาความขาดแคลนให้แผนกที่ยืมมาเช่นกัน
.
การแก้ขัด อาจส่งผลดีในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ก็อาจทำให้ขัดขวางการปรับปรุงกระบวนการ
ทำงานในระยะยาว ซึ่งการแก้ไข ปรับปรุงกระบวนการทำงานนั้นจะต้องอาศัย “ความปลอดภัยทางใจ”
หรือความปลอดภัยเชิงจิตวิทยา (Psychological Safety) ที่มากพอ
.
การแก้ขัด มักเกิดขึ้นเมื่อคนทำงาน เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ที่จะแสดงความคิดเห็น เสนอแนะให้
ปรับปรุงระบบ เพราะอาจจะกลัวขัดแย้ง เสียความสัมพันธ์ หรือกังวลว่าผู้นำจะมองตนในแง่ลบ
จึงเลือกที่จะเงียบและค่อยๆ แก้ขัด กับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างซ้ำๆ
.
ดังนั้น การทำงานที่มีความปลอดภัยทางใจสูงจะช่วยส่งเสริมให้คนทำงานกล้าพูดถึงข้อผิดพลาด
หรือปัญหาที่เกิดขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นตอ และช่วยกัน
แก้ไข ปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ อีกทั้งช่วยส่งเสริมให้คนสามารถคิดนวัตกรรม
ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้
.
The fearless organization

Psychological Safety

อาจารย์ฐิตา ภัทรวรวิศิษฏ์ (อ.ปุ๊)

Thita Phat Trainer, Facilitator & Coach
เขียน 21 มิ.ย. 2566 06:18
ปรับแก้ 12 ต.ค. 2566 22:43