หมดไฟ (Burnout) ทำไงดี

หมดไฟ (Burnout) ทำไงดี

เคยมีอาการนี้กันมั้ยคะ ที่เหน็ดเหนื่อย เบื่อ ไม่มีแรงจูงใจ คิดอะไรไม่ออก ไม่อยากไปทำงาน

.

ภาวะเหล่านี้อาจเคยเกิดขึ้นกับเราทุกคน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีความแข่งขันสูง เปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้คนทำงานสะสมความเครียดอย่างเรื้อรัง
จนปรากฏเป็นภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout นั่นเอง

.

โดยปี 2019 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่าภาวะหมดไฟ เป็นกลุ่มอาการที่เฉพาะเจาะจงเรื่องงานอาชีพ (Occupational) ทำให้เห็นว่าคนทำงาน
ในปัจจุบันประสบปัญหานี้เป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

.

และถ้าเรากำลังหมดไฟในการทำงาน แต่ก็ยังจำเป็นต้องรับผิดชอบหน้าที่อยู่ จะทำยังไง ให้สามารถฟื้นกลับมาได้ Paula Davis (2021) ได้ให้คำแนะนำใน
Forbes ไว้ดังนี้

.

1️⃣ ประเมินว่าเรากำลังหมดไฟระดับไหน โดยสามารถสังเกตสัญญานหลัก 3 อย่าง คือ อาการหมดแรงเรื้อรัง เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากความหงุดหงิด
รำคาญใจ และการขาดประสิทธิภาพในการทำงาน

.

🔍 โดยสำรวจตัวเองใน 1 เดือนที่ผ่านมาด้วยคำถามนี้

– อาการหมดแรง หรือรู้สึกท่วมท้นของเราเป็นยังไง

– เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากความรำคาญใจ เกิดขึ้นยังไงบ้าง

– เรารู้สึกยังไงกับประสิทธิภาพการทำงานของเรา

– เราสนุกกับงานมากน้อยแค่ไหน

.

2️⃣ รับรู้สาเหตุของการหมดไฟในการทำงาน ที่อาจเกิดจากภาระงานที่มากเกินไป แต่เรามีทรัพยากรในการทำงานที่ไม่เพียงพอ อาจจะเริ่มเขียนภาระงาน
ของเราออกมาเพื่อมอบหมายบางส่วนให้ผู้อื่น หรือจัดการเวลาในกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมขึ้น

.

🔍 ส่วนเรื่องของทรัพยากร สามารถสำรวจว่าควรเพิ่มอะไรบ้าง ด้วยคำถามนี้

– มีเครื่องมืออะไรบ้างที่จะเข้ามาช่วยให้กระบวนการทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น flow chart, template หรือคำแนะนำการทำงาน ฯลฯ

– ใครที่สามารถช่วยเหลือเราได้บ้าง

– อะไรบ้างที่ทำให้เรามีความหวังในการทำงาน

– ประสบการณ์ที่ผ่านมา เมื่อเราเผชิญความท้าทาย สิ่งที่เราได้เรียนรู้คืออะไรที่นำมาใช้ได้, มีใครบ้างที่เผชิญความท้าทายคล้ายๆ กับเรา และสามารถช่วยเราได้

.

3️⃣ สำรวจคุณสมบัติและความสามารถในการเผชิญความเครียดในการทำงาน เช่น ความสมบูรณ์แบบ ความเข้มแข็งทางจิตใจ การเผชิญความยากลำบาก
ค่านิยมและความเชื่อของเรา ซึ่งการที่เราสามารถฟื้นจากอาการหมดไฟในการทำงานนั้นจะต้องเริ่มจากการตระหนักรู้ในตนเอง ว่าสิ่งที่เรายึดถือนั้นมีแนวโน้มจะนำเรา
ไปสู่การหมดไฟในการทำงานได้

.

🔍 โดยสำรวจตนเองจากคำถามนี้

– ถ้าทำให้สมบูรณ์แบบไม่ได้ เราจะไม่ทำเลยดีกว่า

– ถ้างานนี้ไม่มีเรา ก็ไม่น่าจะไปได้ดี

– การขอความช่วยเหลือเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอ

– เราไม่กล้าปฏิเสธ หรือ….

– คำนิยมความสำเร็จของเราค่อนข้างจำกัด และก็มักจะต้องเปรียบเทียบกับคนอื่นเสมอ

– เราต้องทำตัวให้ยุ่ง เพื่อแสดงว่าเรามีคุณค่า เป็นที่ต้องการ ซึ่งความยุ่งนั้น เปรียบเสมือนสัญลักษณ์อันทรงเกียรติ

.

4️⃣ การบอกเล่าออกมา บางครั้งอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะพูดในสิ่งที่เรารู้สึกไม่ดี หรือลำบากใจในการทำงาน กลัวว่าจะกระทบความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ

.

🔍 ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้คือ เตรียมบทสนทนาที่เฉพาะเจาะจง ทักทายหัวหน้าบ่อยขึ้น และอาจแบ่งปันความรู้สึก เช่น

– เรารู้สึกยังไงที่ได้ดูแลงานนี้

– เราต้องการเวลาเพิ่มหรือไม่ที่จะทำงานให้สำเร็จ

– บริษัทเรามีนโยบายเรื่อง…หรือไม่

– เราขอย้ายไปทีมหรือแผนกอื่นได้หรือไม่

– เราต้องการอะไรเพื่อช่วยเหลืองานให้ดีขึ้นบ้าง

.

5️⃣ เชื่อมโยงกันคุณค่าของตัวเรา (Values) การหมดไฟในการทำงาน เป็นเหมือนการถอดปลั๊ก หรือหมดใจจากงานอย่างเต็มที่ แต่ถ้าเราสามารถเชื่อมโยง
คุณค่าที่เราให้ความสำคัญกับงานได้ อาจจะทำให้ฟื้นกลับมา

.

🔍 สามารถสำรวจตัวเราเองด้วยคำถามนี้

– ผลลัพธ์เชิงบวกอะไรบ้าง ที่เราสามารถสร้างให้กับโลกนี้ผ่านการทำงาน

– อะไรบ้างคือคุณค่าของเรา และทำยังไงให้คุณค่าเหล่านั้นดำเนินต่อไป

– ลูกค้า, ผู้รับบริการ หรือ คนไข้ของเรา จะบอกเล่าว่าเราช่วยเหลือเขายังไงบ้าง

.

ใครที่มีอาการหมดไฟในการทำงาน สามารถเริ่มสำรวจตัวเองได้ และเริ่มบริหารจัดการจากสิ่งที่เราควบคุมได้ อาจจะช่วยให้เราฟื้นคืนกลับมา มีไฟในการทำงาน
อย่างมีความสุข มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งมอบคุณค่าภายในของเราให้กับผู้คนอีกมากมาย

.

อ.ฐิตา ภัทรวรวิศิษฏ์ (อ.ปุ๊)

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

https://www.delighten.co.th/thita/adaptability-resilience/

https://www.delighten.co.th/thita/resilience-in-communication/

https://www.delighten.co.th/thita/emotional-intelligence-and-resilience/

#หมดไฟในการทำงาน

#burnout

#resilience

Thita Phat Trainer, Facilitator & Coach
เขียน 21 มิ.ย. 2566 08:39
ปรับแก้ 12 ต.ค. 2566 22:31