Toxic Positivity คิดบวกเป็นพิษ

เราต่างทราบดีกันอยู่แล้วว่า ความคิดเชิงบวก
และการมองโลกในแง่ดีนั้น ช่วยส่งผลดีมากมาย
โดย Shawn Achor ผู้เขียน “The Happiness Advantage”
ได้กล่าวว่า การชื่นชม ขอบคุณกันใน
การทำงาน จะช่วยให้เพิ่มความสร้างสรรค์ 3 เท่า
ลดความเหนื่อยล้า 23% และเพิ่มยอดขายได้ถึง
37% เรียกว่าช่วยทั้งทางกาย ใจ และประสิทธิภาพ
งานด้วย
.
ความคิดเชิงบวกทำให้เรามีความหวัง (Hope)
และมีพลังในการเผชิญปัญหา และอุปสรรคต่างๆ
แต่ในบางครั้งการคิดเชิงบวกตลอดเวลา ก็อาจจะ
เป็นเรื่องที่ต้องระวัง ซึ่งเราเรียกกันว่า “Toxic
Positivity หรือ คิดบวกเป็นพิษ”
.
อาการที่แสดงถึง Toxic Positivity อาจแสดงออก
จากความหวังดี ผ่านคำพูดเช่น “คิดบวกเข้าไว้”
“ต้องมีความสุขเท่านั้น” “มองด้านที่ดีสิ” ซึ่งอาจ
ส่งผลเชิงลบได้ในบางสถานการณ์ ทำให้
.
😳 ด่วนมองข้ามปัญหาทั้งหมด โดยไม่เผชิญความ
เป็นจริง
😞 ปิดบัง หรือกดทับ (Suppress) อารมณ์ ความ
รู้สึก โดยไม่ตระหนักรู้และยอมรับตามความเป็นจริง
😖 รู้สึกผิด หรือละอายใจที่ตนเองไม่สามารถคิด
บวกในสถานการณ์นั้นๆ ได้
😏 มองข้ามความยากลำบาก หรืออารมณ์ ความ
รู้สึกของผู้อื่น ไม่ร่วมรู้สึก (Empathy) ขาดความ
เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
.
เช่น เพื่อนของเรากำลังร้องไห้ และเล่าว่าเธอถูกให้
ออกจากงาน และเราอาจจะอยากให้เพื่อหายเศร้า
เร็วๆ เราจึงบอกเพื่อนว่า “มองในแง่ดีสิ” หรือบาง
คนกำลังสูญเสียคนในครอบครัว และเราก็รีบปลอบ
ใจว่า “เธอยังมีคนที่รักอีกมากมายนะ ยิ้มเข้าไว้”
การรีบปลอบโยนเช่นนี้ อาจจะไม่ได้ช่วยเพื่อนให้
รู้สึกดีขึ้น เพราะขาดความเข้าใจ และไม่อนุญาตให้
เขาแสดงความรู้สึกที่แท้จริง (Authentic) อาจทำให้
เขารู้สึกผิดและละอายใจได้
.
แล้วเราจะหลีกเลี่ยง Toxic Positivity ได้อย่างไร
บ้าง Kendra Cherry ได้ให้คำแนะนำว่า
.
✅ยอมรับว่า It’s OK to Not be OK เป็นไปได้ที่เรา
จะรู้สึกไม่โอเค นั่นคือการยอมรับความไม่สมบูรณ์
แบบของความเป็นมนุษย์ได้
✅รับรู้และบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกตามจริง
โดยไม่ปิดบัง กดทับ เรียนรู้ว่าแต่ละอารมณ์ความ
รู้สึกเชิงลบนั้นกำลังบอกเราว่า เราต้องการ หรือให้
คุณค่าอะไร ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง
✅ใส่ใจในการรับฟัง เมื่อที่เราฟังคนที่กำลังอยู่ใน
ความยากลำบาก เราอาจจะยังไม่ต้องรีบที่จะดึงเขา
ออกจากความรู้สึกนั้นๆ แต่แค่เราแสดงให้เขาเห็นว่า
อยู่ตรงนั้นกับเขา และรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของเขา
โดยไม่จำเป็นต้องแนะนำอะไร อาจจะทำให้เขาได้
ผ่อนคลาย และระบายสิ่งที่อยู่ข้างใน ได้ดีขึ้น และ
Whitney Goodman ผู้เขียนหนังสือชื่อ Toxic
Positivity ได้ให้คำแนะนำว่า การแสดงการรับรู้
ความรู้สึกของผู้พูด เราอาจตอบกลับไปว่า “เรื่องนี้
ยากจังเลยนะ” “เราเสียใจกับสิ่งที่เธอกำลังเผชิญ
อยู่” หรือแม้แต่ “เราก็ไม่รู้ว่าจะพูดอะไร แต่เราอยู่
ตรงนี้กับเธอนะ”
.
เรื่องนี้ชวนให้เราได้กลับมาสังเกตพฤติกรรมของตัวเอง
ว่าสิ่งที่เราหวังดี อยากให้คนรอบข้างรู้สึกดีขึ้นนั้น
เป็นสิ่งที่เขาต้องการ หรือเราต้องการกันแน่
นอกจากนั้นยังกลับมาใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริง
และเลือกในสิ่งที่เหมาะกับแต่ละสถานการณ์มากขึ้น
.
Thita 😊
Thita Phat Trainer, Facilitator & Coach
Since:
Update:

Read : 139 times