บทความนี้ ถอดความและเรียบเรียงจากสารคดี Earth: The Mindful Path to Systems Change โดย Al Jazeera Earth
เมื่อโลกกำลังเผชิญวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ คำตอบของการเปลี่ยนแปลงอาจไม่ได้อยู่แค่ในเทคโนโลยีหรือนโยบาย แต่เริ่มต้นจากภายใน คือ ภายในจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
สารคดี Earth โดย Al Jazeera Earth พาเราออกเดินทางสู่เส้นทางของ “Inner Development” ผ่านบทเรียนจากหมู่บ้านพลัม (Plum Village), การประชุม Inner Development Goals (IDG) Global Summit และวงสนทนากลุ่มเล็กบนเกาะ Ekskäret
“We cannot be without this Earth. To be, we have to inter-be.”
“เราไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากไม่มีโลก การมีอยู่ต้องเป็นความเป็นดั่งกันและกัน (Interbeing)” — Brother Pháp Hữu
Plum Village วัดเซ็นใหญ่ที่สุดในยุโรป ก่อตั้งโดย หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ เป็นสถานที่ที่ฝึกปฏิบัติเพื่อกลับคืนสู่ความสัมพันธ์กับโลก ผ่านหลักธรรมเรื่อง Interbeing หรือ ความเป็นดั่งกันและกัน
Brother Pháp Hữu เจ้าอาวาส Upper Hamlet อธิบายว่า “The Earth has given rise to all the wonders we get to experience.”
“โลกคือผู้ให้กำเนิดทุกความมหัศจรรย์ที่เราได้สัมผัส”
การฝึกปฏิบัติในหมู่บ้านพลัมคือการตระหนักรู้ว่า โลกไม่ใช่สิ่งอื่นที่แยกจากเรา แต่โลกคือเรา และเราคือโลก
Sister Trinh Mai Nghiem เสริมว่า “We are cultivating the energy of concentration... so that we can transform the war inside of ourselves.”
“เรากำลังฝึกพลังแห่งสมาธิ เพื่อเปลี่ยนแปลงสงครามภายในตัวเราเอง”
การฝึกปฏิบัติที่เรียบง่าย เช่น การเดินอย่างมีสติ การปลูกผัก การกราบสัมผัสพื้นดิน (Touching the Earth) เป็นวิธีเชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง
“Systems change is deeply personal.”
“การเปลี่ยนแปลงระบบ เริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงภายในใจของแต่ละคน” — Cristiana Figueres
Cristiana Figueres อดีตเลขาธิการ UNFCCC และสถาปนิกคนสำคัญของข้อตกลง Paris Agreement กล่าวว่า การฝึกปฏิบัติใน Plum Village ไม่ใช่แค่ที่หลบภัยจากความเหนื่อยล้า แต่คือแหล่งพลังแห่งความรักและความกล้าหาญ
ร่วมกับ Brother Pháp Hữu และสังฆะ Plum Village เธอได้จัด Retreat ให้กับนักเคลื่อนไหวและผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศทั่วโลก เพื่อเยียวยาความสิ้นหวัง ความเหนื่อยล้า และความทุกข์จากภารกิจปกป้องโลก
“The suffering is real, but the joy can also be very real in the here and now.”
“ความทุกข์เป็นของจริง แต่ความสุขก็เป็นของจริงในปัจจุบันเช่นกัน”
“The question is not what needs to be done, but why aren’t we doing it?”
“คำถามไม่ใช่ว่าเราต้องทำอะไร แต่คือ ทำไมเรายังไม่ทำ?” — Karina Moser, IDG Summit Organizer
ในการประชุม IDG Global Summit ที่กรุง Stockholm กว่า 1,500 คนในสถานที่จริง และอีก 10,000 คนออนไลน์ มารวมตัวกันด้วยคำถามเดียวกันนี้
“The way that we are solving problems is the problem.”
“วิธีที่เรากำลังพยายามแก้ปัญหา นั่นแหละคือปัญหา” — Erik Fernholm, Co-founder IDG
🌟 ช่วงเวลาสำคัญบนเวที Dr. Ha Vinh Tho ลูกศิษย์ของ หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ขึ้นเวที เชิญระฆังแห่งสติ (Mindfulness Bell) เพื่อเชื้อเชิญทุกคนเข้าสู่ความเงียบและความตระหนักรู้ในปัจจุบัน ก่อนเริ่มต้นนำเสนอเรื่อง ความสุขและสุขภาวะ
เสียงระฆังทำให้ทั้งห้องประชุมเข้าสู่ความสงบ เป็นเครื่องเตือนใจว่าการเปลี่ยนแปลงระบบเริ่มจากความเงียบในใจของแต่ละคน
หลังจบ IDG Summit ทีมผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาได้เดินทางไปที่เกาะ Ekskäret ในทะเลบอลติก เพื่อทบทวนบทเรียน วางแผนอนาคต และเชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง
“Reality is interconnection, but our narrative is separation.”
“ความจริงคือความเชื่อมโยง แต่เรื่องเล่าของเราคือความแยกจากกัน” /Yan Aram Henriksson, Executive Director, IDG
“The future of nature and the future of humanity is tethered.”
“อนาคตของธรรมชาติ และอนาคตของมนุษย์ ผูกพันกันอย่างแยกไม่ออก”
🔬 ความคล้ายกันระหว่างวิทยาศาสตร์และคำสอนทางจิตวิญญาณ
เมื่อฟังนักวิทยาศาสตร์อธิบาย Science of Interconnection หรือวิทยาศาสตร์แห่งความเชื่อมโยง ว่า ชีวิตของเราสัมพันธ์กับจุลินทรีย์ในร่างกาย น้ำ ดิน และระบบนิเวศทั้งหมด ทำให้ผู้เล่าเกิดความประหลาดใจว่าคำสอนเรื่อง Interbeing หรือ ความเป็นดั่งกันและกัน จากหมู่บ้านพลัม กับข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ มีเนื้อหาที่สอดคล้องกันอย่างน่าทึ่ง
“What is the future that you imagine? The honest answer to that is… love.”
“เมื่อถามว่า คุณมองเห็นอนาคตของมนุษย์และโลกอย่างไร คำตอบที่แท้จริงของผมคือ... ความรัก” / Erik Fernholm
เขาอธิบายว่า ความรักคือการรับรู้ถึงความเป็นปาฏิหาริย์ของชีวิต การที่เรามีสติรู้ตัวว่าเราได้เกิดมา ใช้ชีวิตบนโลก และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้กับโลกและเพื่อนมนุษย์
อนาคตที่เขาจินตนาการคือโลกที่การกระทำของมนุษย์ทุกคนสอดคล้องกับความรัก ความเมตตา ความใส่ใจ และการเห็นคุณค่าของความเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมชาติ
บทสรุป: เมื่อเรากลับมาสู่หัวใจของชีวิต
“We are not separate from the Earth. We are the Earth.”
“เราไม่ได้แยกจากโลก แต่เราเองก็คือโลก”
สารคดีเรื่องนี้ชี้ให้เห็นชัดว่า เส้นทางสู่ความยั่งยืนไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงภายนอก แต่คือการกลับมาทำความเข้าใจว่า เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายชีวิต
Interbeing หรือ ความเป็นดั่งกันและกัน ไม่ใช่แค่คำสอนทางพุทธศาสนาอีกต่อไป แต่มันคือกุญแจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบบโลกในศตวรรษนี้
เรียบเรียงโดย InnerCorner.com
อ้างอิงจากสารคดี Earth: The Mindful Path to Systems Change โดย Al Jazeera Earth